บันทึกครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดี ที่ 27 ธันวาคม 2555
ไม่มีการเรียนการสอน
ค้นคว้าเพิ่มเติม
สื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย รูปทรง การวัด
ชื่อเรื่อง รูปร่าง,รูปทรง การวัด
สำ
หรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กๆได้รู้จัก รูปทรงและรูปร่าง
2. เพื่อให้เด็กได้รู้จักความแตกต่างระหว่างรูปร่างกับรูปทรง
3.เพื่อให้เด็กได้รู้จักการชั่งน้ำหนักและการกะประมาณ
อุปกรณ์
1.กระดาษสี
2.กระดาษแข็ง
3.แล็คซีน
4.กาว
5.กรรไกร
6.ไม้ไอติม
7.จานกระดาษ
8.มีด เลื่อย
9.สว่านไฟฟ้า
10.น็อต ,ไม้
11.ตลับเมตร
ขั้นตอนการทำสื่อ
การทำตราชั่ง
1.ใช้ตลับเมตรวัดไม้ตามขนาดที่ต้อง แล้วใช้สว่านไฟฟ้าเจาะรู จากนั้นนำน็อตมาขันไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม
การทำรูปร่างรูปทรง
1.ใช้ไม้ไอติมในการทำรูปสามเหลี่ยม ใช้กาวติดเป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ใช้กระดาษตัดเป็นรูปวงกลม วงรี
สี่เหลี่ยมแล้วทำกล่อง
2.ตัดกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยม
การใช้สอน ขั้นตอนการสอน
1.กล่าวทักทายเด็กๆ พร้อมสวัสดีตอนเช้าและบอกชื่อหน่วย บอกชื่อกิจกรรม และบอกวัตถุประสงค์
1.กล่าวทักทายเด็กๆ พร้อมสวัสดีตอนเช้าและบอกชื่อหน่วย บอกชื่อกิจกรรม และบอกวัตถุประสงค์
2.เข้าสู่ขั้นนำแล้วยกรูปทรงต่างๆให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่านี่คือรูปอะไร พร้อมอธิบายรูปทรงต่างๆ ให้เด็กรู้ และความแตกต่างระหว่างรูปร่างกับรูปทรง
3.ครูให้เด็กบอกว่าคือรูปอะไรแล้วมันคือรูปร่างหรือรูปทรง
4.ครูให้เด็กแบ่งกลุ่ม แล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกมาชั่งน้ำหนักของผลไม้ต่างๆโดยให้ปรึกษากันก่อนว่าจะเอาอะไรขึ้นชั่งเพื่อจะได้หนักว่าฝ่ายตรงข้าม
5.ครูกับเด็กสรุปพร้อมกันว่ารู้จักอะไรบ้าง แล้วความแตกต่างของรูปร่างรูปทรง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กจะได้รู้รูปร่างรูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
2.เด็กสามารถบอกได้ว่านิยามศัพท์ของรูปร่างรูปทรง รูปเรขาคณิตคืออะไร
3.เด็กได้พัฒนาทักษะทางสังคม และทักษะกระบวนการคิด รู้จักการกะประมาณก่อนการชั่ง
แผนการสอน รูปทรง
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กรู้จักนิยามและความแตกต่างของรูปร่าง รูปทรง
2.เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะทางสังคม สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้
3.เพื่อให้เด็กเกิดความคิดและจินตนาการ
ขั้นนำ
-กล่าวทักทายเด็กๆ พร้อมสวัสดีตอนเช้าและบอกชื่อหน่วย บอกชื่อกิจกรรม และบอกวัตถุประสงค์แล้วยกรูปทรงต่างๆให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่านี่คือรูปอะไร พร้อมอธิบายรูปทรงต่างๆ ให้เด็กรู้ และความแตกต่างระหว่างรูปร่างกับรูปทรง
ขั้นกิจกรรม
-ครูให้เด็กบอกว่าคือรูปอะไรแล้วมันคือรูปร่างหรือรูปทรง
-ครูให้เด็กแบ่งกลุ่ม ๆละ 5 คน ให้เด็กนำรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม กงกลม และหกเหลี่ยมมาต่อเป็นรูปต่างๆ เช่น นำสามเหลี่ยมมาต่อเป็นรูปปลา
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าได้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กจะได้รู้รูปร่างรูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
2.เด็กสามารถบอกได้ว่านิยามศัพท์ของรูปร่างรูปทรง รูปเรขาคณิตคืออะไร
3.เด็กได้พัฒนาทักษะทางสังคม และทักษะกระบวนการคิดและจินตนาการ
แผนการสอน การวัด
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กรู้จักการชั่งน้ำหนักและการคาดคะเน
2.เพื่อให้เด็กได้ฝึกประสาทสัมผัสระหว่างสายตากับมือ
ขั้นนำ
-กล่าวคำทักทายเด็กๆ บอกชื่อกิจกรรม บอกวัตถุประสงค์ เตรียมความพร้อมให้ก่อนสอน โดยการปรบมือเป็นจังหวะครูพาเด็กร้องเพลง “กินผัก”พร้อมทำท่าประกอบ
ขั้นกิจกรรม
-ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นสองฝ่าย
-นำผักผลไม้มาให้เด็กดู แล้ว ให้เด็กบอกว่า ลูกไหนใหญ่ ลูกไหนเล็ก อะไรจะหนักกว่ากัน
-ให้เด็กออกมาชั่งผักผลไม้ อาจจะให้เด็กลองชั่ง ผลไม้ชนิดเดียวกัน ต่างชนิดมารวมกัน (ส้มกับส้ม แอบเปิ้ลกับผักกาดขาว มะเขือยาวกับตุ๊กตา) น้ำหนักจะเท่ากันหรือไม่ แต่ก่อนชั่งให้เด็กปรึกษากันก่อนคาดคะเนก่อนว่าอะไรจะหนักกว่ากัน ถ้ากลุ่มไหนชั่งหนักว่าจะเป็นฝ่ายชนะ(การชั่งแต่ละครั้งจะต้องมีจำนวนชิ้นที่เท่ากัน)
ขั้นสรุป
ครูกับเด็กร่วมสรุปว่ารู้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กได้ฝึกทักษะทางสังคม สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้
2.เด็กรู้จักการคาดคะเน และได้ฝึกประสารทสัมผัสระหว่างมือกับตา
ที่มาของข้อมูล : http://www.learners.in.th/blogs/posts/512228
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น