วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

เรื่่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ปริญญานิพนธ์
ของ
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2550


บทนำ

             ทรัพยากรมนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ประเทศใดที่คนในชาติ
มีความรู้ ประเทศนั้นย่อม มีความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนา
คนในชาติของตน โดยการให้ความสำคัญต่อการให้การศึกษา แก่คนในชาติเพราะการศึกษาคือการ
พัฒนาให้คนมีความรู้ที่สามารถสร้างตนให้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงขึ้น สร้างชาติให้อยู่อย่าง
มีความสุขและรุ่งเรืองได้ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2542:86)

               ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัยการพัฒนาเด็กต้องครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา คณิตศาสตร์นับเป็น
ความสามารถทางสติปัญญา และเป็นทักษะด้านหนึ่งที่ควรส่งเสริมและจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน ถ้ามองไปรอบๆ ตัวจะ
เห็นว่าชีวิตเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มากมาย เริ่มตั้งแต่เลขที่บ้าน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนรถ
ปฏิทิน นาฬิกา เวลา การซื้อขาย การคมนาคม และการติดต่อสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับ
คณิตศาสตร์ด้วยทั้งสิ้น (นิตยา ประพฤติกิจ. 2537:241)



ความมุ่งหมายของการวิจัย

            เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัย

             การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของ
ศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่ง
ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัด
ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความ
หลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น


ขอบเขตการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

             ประชากรวิจัย

              ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่ง
กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ
กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน

               กลุ่มตัวอย่างการวิจัย

                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาล
ละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา
1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น
กลุ่มทดลอง


วิธีดำเนินการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดั้งต่อไปนี้
1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86


การเก็บรวบรวมข้อมูล


 การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2
ครั้งคือ
4.1 ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)
ก่อนการทดลอง
4.2 ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ใช้เวลา
ทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
(Posttesrt) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัย


สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการ
จำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน
1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ย
สูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01






วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 16

พฤหัสบดี ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556


              วันนี้อาจารย์ให้ไปร่วมทำกิจกรรมที่ลานแดง เนื่องจากมีงานการรณรงค์การใช้ขวดน้ำส่วนตัว และร่วมฟังบรรยายจากท่านวิทยากร ภายในงานก็มีศิลปินมาร่วม คือ จอยAF และ แจสมิน จาก RS ซึ่งทั้งสองสาวก็กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเรานี่เองค่ะ นอกจากนี้ดิฉันก็ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิ เลี้ยงลูกบอลลงตะกร้า  โยนห่วง ตีกอล์ฟ และโยนลูกปิงปองลงกระป๋อง ซึ่งฉันและเพื่อนก็เล่นทุกอย่าง เพื่อแลกของรางวัลที่อยากได้คือ ขวดน้ำใช้ส่วนตัวนั่นเอง และในที่สุดก็ทำได้จริงๆ  โดยได้จากการเล่นเกมเลี้ยงลูกบอลลงตะกร้า กติกาคือ ต้องทำให้ลูกบอลลงตะกร้าสามลูกแล้วจะได้ขวดน้ำ แต่ถ้าทำได้เพียงแค่สองลูกก็จะได้รับสมุดโน้ต ที่ใช้คั่นหน้าหนังสือ เป็นต้น

                หลังจากที่กิจกรรมเสร็จลงอาจารย์ก็ให้เข้าเรียนตามปกติ  เมื่อหมดเวลาเรียนพวกเราก็เดินทางกลับบ้าน อย่างมีความสุข :))

- อาจารย์ให้ดูหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับตารางกิจกรรมสำหรับเด็ก
















ความรู้เพิ่มเติม


       มารู้จักวันวันวาเลนไทน์

      หรือวันแห่งความรักกันเถอะ





วันนักบุญวาเลนไทน์ (อังกฤษSaint Valentine's Day) หรือที่มักเรียกว่า วันวาเลนไทน์ (อังกฤษValentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวาเลนไทน์มีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นประเทศทางตะวันตก แม้จะยังเป็นวันทำงานในทุกประเทศเหล่านั้นก็ตาม
"วันนักบุญวาเลนไทน์" แต่เดิมเป็นเพียงวันฉลองนักบุญในศาสนาคริสต์ยุคแรกที่ชื่อ วาเลนตินุส (แต่นักบุญชื่อนี้มีหลายองค์) ความหมายโรแมนติกโดยนัยสมัยใหม่ล้วนถูกกวีเพิ่มเติมในอีกหลายศตวรรษต่อมาทั้งสิ้น วันวาเลนไทน์ถูกำหนดขึ้นครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซิอุสที่ 1 ใน ค.ศ. 496 ก่อนจะถูกลบออกจากปฏิทินนักบุญทั่วไปของโรมัน (General Roman Calendar of saints) ในปี ค.ศ. 1969 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6
วันวาเลนไทน์มาข้องเกี่ยวกับรักแบบโรแมนติกเป็นครั้งแรกในแวดวงสังคมของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ ช่วงกลางสมัยกลาง (High Middle Ages) เมื่อประเพณีรักเทิดทูน (courtly love) เฟื่องฟู จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 วันวาเลนไทน์ได้วิวัฒนามาเป็นโอกาสซึ่งคู่รักจะแสดงความรักของพวกเขาแก่กันโดยให้ดอกไม้ ขนมหรือลูกกวาด และส่งการ์ดอวยพรกัน[1][2]



นักบุญวาเลนไทน์

[แก้]ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

มรณสักขีในศาสนาคริสต์ยุคแรกหลายคนมีชื่อว่า วาเลนไทน์ ซึ่งวาเลนไทน์ที่มีการฉลองในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คือ วาเลนไทน์แห่งโรม (Valentinus presb. m. Romae) และวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี (Valentinus ep. Interamnensis m. Romae)[3] วาเลนไทน์แห่งโรมเป็นนักบวชในโรมผู้พลีชีพเพื่อศาสนาราว ค.ศ. 269 และถูกฝังที่เวียฟลามีเนีย (Via Flaminia) กะโหลกที่สวมมาลัยดอกไม้ของนักบุญวาเลนไน์ถูกจัดแสดงในมหาวิหารซานตามาเรียในคอสเมดิน โรม เรลิกอื่นพบได้ในมหาวิหารซานตาพราสเซเด (Santa Prassede)[4] ในโรมเช่นกัน เช่นเดียวกับที่โบสถ์คาร์เมไลท์ถนนไวท์ไฟร์อาร์ (Whitefriar Street Carmelite Church) ในดับลินไอร์แลนด์
วาเลนไทน์แห่งเทอร์นีกลายมาเป็นบิชอปแห่งอินเตรัมนา (Interamna, ปัจจุบัน คือ เทอร์นี) ราว ค.ศ. 197 และกล่าวกันว่าท่านได้พลีชีพในช่วงการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในรัชสมัยจักรพรรดิออเรเลียน ท่านถูกฝังที่เวียฟลามีเดียเช่นกัน แต่คนละตำแหน่งกับที่ฝังวาเลนไทน์แห่งโรม เรลิกของท่านอยู่ที่มหาวิหารนักบญวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี[5]
สารานุกรมคาทอลิกยังกล่าวถึงนักบุญคนที่สามที่ชื่อวาเลนไทน์ ผู้ซึ่งมีการกล่าวขานถึงในบัญชีมรณสักขียุคต้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ท่านพลีชีพเพื่อศาสนาในแอฟริการ่วมกับเพื่อนเดินทางจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับท่านอีก[6]
ไม่มีส่วนใดที่โรแมนติกปรากฏในชีวประวัติยุคกลางตอนต้นแต่เดิมของมรณสักขีทั้งสามท่านนี้ ก่อนที่นักบุญวาเลนไทน์จะมาเชื่อมโยงกับเรื่องรักใคร่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 นี้ ระหว่างวาเลนไทน์แห่งโรมกับวาเลนไทน์แห่งเทอร์นีนั้นไม่มีความข้องเกี่ยวกันเลย
ศีรษะของนักบุญวาเลนไทน์ถูกเก็บรักษาไว้ในแอบบีย์นิวมินสเตอร์ วินเชสเตอร์ และเป็นที่เคารพบูชา แต่ไม่มีหลักฐานว่านักบุญวาเลนไทน์จะเป็นนักบุญที่ได้รับความนิยมก่อนบทกวีของเชาเซอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 แม้แต่ในพื้นที่วินเชสเตอร์[7] การเฉลิมฉลองนักบุญวาเลนไทน์มิได้แตกต่างไปจากการเฉลิมฉลองนักบุญคนอื่นมาก และไม่มีโบสถ์ใดอุทิศถึงท่าน[7]
ในการตรวจชำระปฏิทินนักบุญโรมันคาทอลิก วันฉลองนักบุญวาเลนไทน์ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถูกตัดออกจากปฏิทินโรมันทั่วไปและลดขั้นไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ (particular calendar, ท้องถิ่นหรือประจำชาติ) ด้วยเหตุผล "แม้ความทรงจำเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์จะเก่าแก่ แต่ชื่อของท่านก็ถูกลดไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ เพราะนอกเหนือไปจากชื่อของท่านแล้ว ไม่มีข้อมูลอื่นใดทราบกันเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์ เว้นแต่ว่า ท่านถูกฝังที่เวียฟลามิเนียเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์"[8] วันฉลองนี้ยังมีการเฉลิมฉลองอยู่ในบัลซาน (มอลตา) ที่ซึ่งมีการอ้างว่าพบเรลิกของนักบุญวาเลนไทน์ที่นั่น และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยผู้นับถือนิกายคาทอลิกดั้งเดิมที่ถือตามปฏิทินที่เก่ากว่าก่อนหน้าของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่สองนี้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ยังมีการเฉลิมฉลองเป็นวันวาเลนไทน์ในนิกายอื่นของศาสนาคริสต์ ตัวอย่างเช่น วันวาเลนไทน์มีระดับระดับ "พิธีฉลอง" (commemoration) ในปฏิทินของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และส่วนอื่นของแองกลิคันคอมมิวเนียน[9]


ตำนาน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 หรือที่ 6 ผลงานชื่อ Passio Marii et Marthae ได้กุเรื่องราวการพลีชีพเพื่อศาสนาแก่นักบุญวาเลนไทน์แห่งโรม ซึ่งปรากฏว่ามิได้มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ใด ๆ เลย[10] ผลงานนี้อ้างว่า นักบุญวาเลนไทน์ถูกเบียดเบียนเพราะนับถือศาสนาคริสต์ และถูกสอบสวนโดยจักรพรรดิคลอเดียส กอธิคัสเป็นการส่วนตัว วาเลนไทน์ทำให้จักรพรรดิคลอเดียสประทับใจและได้สนทนากับท่าน โดยพยายามให้เขาเปลี่ยนไปนับถือลัทธิเพเกินโรมันเพื่อรักษาชีวิตของท่าน วาเลนไทน์ปฏิเสธและพยายามโน้มน้าวให้จักรพรรดิคลอเดียสหันมานับถือศาสนาคริสต์แทน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงถูกประหารชวิต ก่อนที่ท่านจะถูกประหารชีวิตนั้น มีรายงานวาท่านได้แสดงปาฏิหาริย์โดยรักษาลูกสาวตาบอดของผู้คุมของเขา แอสเตอเรียส (Asterius) Passio สมัยหลังย้ำตำนานนี้ โดยเสริมเรื่องกุว่า สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 1 ได้ทรงสร้างโบสถ์ครอบสุสานของท่าน (เป็นความเข้าใจผิดกับผู้พิทักษ์ประชากร [tribune] ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชื่อ วาเลนติโน ซึ่งบริจาคที่ดินเพื่อสร้างโบสถ์ในขณะที่จูเลียสเป็นพระสันตะปาปา)[10] ตำนานได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นข้อเท็จจริงโดยบันทึกมรณสักขีในภายหลัง เริ่มจากบันทึกมรณสักขีของบีดในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และมีย้ำในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ใน Legenda Aurea[11] หนังสือนี้อธิบายคร่าว ๆ ถึงกิจการของนักบุญ (Acta Sanctorum) ยุคกลางตอนต้นของนักบุญวาเลนไทน์หลายคน และตำนานนี้ถูกจัดเข้ากับวาเลนไทน์ใต้วันที่ 14 กุมภาพันธ์

ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C




วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


บันทึกครั้งที่ 15

พฤหัสบดี ที่ 7 กุมภาพันธ์


              วันนี้อาจารย์ให้สาธิตการสอนของแต่ละกลุ่ม วันนี้ก็เป็นกลุ่มของฉันแล้วค่ะ แล้วฉันก็เป็นคนแรก(หน่วยกล้าตาย)ที่ออกไปด้วย เพราะได้สอนวันจันทร์ หน่วยที่สอนเป็นเรื่องเกี่ยวกับต้นไม้    แต่จะสอนละเอียดเข้าไปอีกคือ สอนลักษณะของต้นไม้ ว่าต้นไม้มีลักษณะอย่างไรนั่นเอง ความรู้สึกของฉันตอนออกไปสอนมันตื่นเต้นค่ะ กลัวว่าจะทำไม่ได้ สุดท้ายก็ทำไม่ได้จริงๆอ่ะแหละ เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้ทำแบบนี้ แต่ก็โชคดีที่อาจารย์และเพื่อนๆก็ช่วยทำให้เรามีทักษะมากขึ้น สมองก็รับความรู้บางส่วนมาเก็บไว้บ้างแล้ว ถามอะไรตอบได้ และจากนั้นเพื่อนคนที่สอนในวันถัดไปก็ออกมาสอนเรียงลำดับตามวันไปเรื่อยๆจนครบห้าวันค่ะ



อาจารย์ช่วยอธิบายให้เข้าใจ

ตั้งใจดูอย่างจริงจัง









วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 14 

พฤหัสบดี ที่ 31 มกราคม 2556

             วันนี้อาจารย์ให้สาธิตการสอนในหน่วยที่นักศึกษาเขียนแผนการสอนมา เช่น หน่วยดิน หน่วยน้ำ หน่วยต้นไม้ และหน่วยหมอเป็นต้น ซึ่งเพื่อนๆก็ได้ออกมาสาธิตเนื่องจากเป็นครั้งแรกและกลุ่มแรก ทักษะหรือวิธีการสอนจึงยังไม่สมบูรณ์ อาจารย์ก็ช่วยแนะนำ เทคนิควิธีการสอนให้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้นิสิตนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องถูกวิธี และเมื่ออาจารย์อธิบายเสร็จแล้วเราก็มีความเข้าใจในวิธีที่จะสอนเด็กมากขึ้น จากที่งง งง ทึบๆ ก็สว่างขึ้นมาเลย เพื่อนกลุ่มแรกที่นำเสนอ หน่วยดิน ก็ใช้เวลาหมดชั่วโมงเรียนพอดี อาจารย์เลยให้กระดาษมาคนละหนึ่งแผ่น ให้นักศึกษาที่นั่งฟังและดูเพื่อนที่สาธิตการสอนหน้าห้องเรียน ว่าได้รับความรู้อะไรบ้างจากที่เพื่อนสาธิตให้ฟังและดู โดยอาจารย์ให้เวลาเขียน 10 นาที ถ้าหมดเวลาทุกคนต้องวางปากกาจากมือทันที ห้ามเขียนต่อเด็ดขาด จากนั้นเวลาที่ให้มาสิบนาทีก็หมดไป เราและเพื่อนๆปล่อยปากกากันทันที บางคนมือก็ยังติดกับปากกาอยู่จนอาจารย์เตือนอีกทีค่อยวาง  และอาจารย์ก็เช็คชื่อพร้อมตรวจเครื่องแต่งกาย และพวกเราก็ทำความเคารพก่อนกลับ

               และวันนี้เราก็รู้สึกสนุก มีความสุขกับการเรียนในวันนี้มาก เพราะได้รับความรู้ เทคนิควิธีการสอนเด็กๆ  มากมาย ซึ่งทำให้เรามีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งจะได้เป็นครูที่ดีในอนาคต ที่จะสอนเด็กๆที่เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์เล็กๆ ให้เติบใหญ่กลายเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์และแข็งแรงตลอดไป











วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556


บันทึกครั้งที่ 13

พฤหัสบดี ที่ 24 มกราคม 2556


            วันนี้เราก็ตื่นแต่เช้าเพื่อไปเรียนในวิชานี้ ถึงแม้ว่าความจริงจะขี้เกียจตื่นเช้ามากก็ตาม (มันจำเป็นต่อชีวิต)  วันนี้อาจารย์มีธุระต้องทำ เลยไม่สามารถสอนเต็มเวลาได้  สำหรับเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ อาจารย์ก็ได้สอนถึงการเขียนแผนการสอนที่จะนำมาสาธิตในห้องเรียนในสัปดาห์ถัดไป ว่าควรเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม แล้วอาจารย์ก็กล่าวถึงประสบการณ์สำคัญของเด็กๆด้วยว่าเป็นอย่างไร เป็นต้น
              และก่อนอาจารย์จะไปทำธุระ ก็ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปเขียนแผนการสอน ตามที่กล่าวไว้ แล้วให้นำมาสาธิตในห้องเรียนในสัปดาห์หน้า






วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556


บันทึกครั้งที่ 12

วัน พฤหัสบดี ที่ 17 มกราคม 2556


               วันนี้ตื่นเช้าตั้งใจมาเรียนมากๆ เมื่อถึงเวลาเรียนก็เดินเข้าห้องเรียนได้ตรงเวลาพอดี วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเศษส่วน ว่าถ้าพูดถึงคำว่าทั้งหมดจะหมายถึงเรื่องของเศษส่วน และเศษส่วนก็คือการแบ่งสิ่งของต่างๆให้เท่ากัน จากนั้นก็สอนว่าการจัดประสบการณ์ให้เด็กควรมีหลักในเรื่นการจัดคือ เรื่องนั้นต้องเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก มีประโยชน์ต่อเด็ก และการสอนเด็กควรสอนให้ได้ปฏิบัติ ลงมือกระทำด้วยตนเอง ไม่ใช่สอนแต่เพียงทฤษฎีอย่างเดียว และอาจารย์ก็ได้บอกว่าการที่จะนำกราฟมาสอนเด็กควรนำกราฟรูปภาพมาสอน เพราะเป็นกราฟที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายที่สุดในบรรดากราฟทั้งหมดที่มี
                และพอหมดเวลาเรียนพวกเราก็กลับบ้าน หรือเพื่อนๆบางคนก็อาจแวะที่โน่น นี่ นั่น ตามจุดหมายของแต่ละคน สำหรับวันนี้ก็หมดเวลาของเราแล้ว ไว้พบกันใหม่นะคะ สวัสดีค่ะ




เก็บภาพสวยๆ งามๆ จากบ้านมาฝากทุกคนให้ได้ชมกันค่ะ 




ภาพนี้บอกเล่าเรื่องราว ให้ความรู้สึกที่อบอุ่นมากๆค่ะ ถ่ายตอนเช้าตรู่ของวันใหม่ ที่ตอนนั้นอากาศกำลังหนาว หมอกกำลังเยอะ เป็นภาพที่สวยงามมากๆค่ะ

ภาพนี้ถ่ายในวันเดียวกันกับภาพข้างบนค่ะ เวลานี้แดดกำลังออกพอดี เป็นแสงแดดยามเช้า ถ้าไปยืนรับก็จะได้วิตามินจากแสงแดดอย่างเต็มที่ คุณภาพคับถ้วย สังเกตว่าบนหลังคาบ้าน จะมีนกอยู่หนึ่งตัวที่มีสีกลมกลืนกับสีของหลังคาบ้าน ข้าพเจ้าก็เลยจัดหามุมที่งามๆให้นกกับดวงอาทิตย์อยู่เยื้องๆกัน ก็ได้ภาพที่สวยงามแบบนี้ออกมาค๊า


                       อันนี้เป็นโฉมงามเองค่ะ  ฮ่าๆชมตัวเอง อายจังก็กล้าเนอะ ถ้าดูภาพข้าพเจ้าไม่ต้องเอียงคอตามก็ได้นะคะ

ดอกไม้ที่บ้านค่ะ

ลายเสื่อของแม่ค่ะ ตอนนี้แม่กำลังทออยู่ยังบ่เสร็จเลย คงอีกโดน ฮ่าๆ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556






บันทึกครั้งที่่ 11


วันพฤหัสบดี ที่ 10 มกราคม 2556


                วันนี้เราเข้าเรียนได้ตรงเวลาเป๊ะเลยค่ะ ไม่มีโดนเช็คขาดหรือว่าเช็คสาย นอกจากนี้ก็ได้เตีรยมตัวมาเรียน แบบมีความพร้อม คือเตรียมงานที่ครูมอบหมายให้มาส่งทุกชิ้น  แต่ว่าอีกชิ้นยังไม่เสร็จเลย ก็เลยเตรียมอุปกรณ์มาทำในห้อง ซึ่งใช้เวลาแป๊บเดียว เพราะทำไม่ยากเท่าไรค่ะ งิงิ 

                 โดยเนื้อหาสาระที่เริ่มเรียนในวันนี้ก็มีการทบทวนการทำแผนผังความคิดหรือที่เราๆมักเรียกกันว่า Mind Mapping นั่นเอง ว่าผังความคิดนั้นสามารถทำให้เราได้ทราบถึงสาระสำคัญของเรื่องนั้นๆ แล้วยังสามารถแตกออกไปเป็นประเด็นย่อยๆ ได้ อีกหลายประเด็น ซึ่งในขณะที่ทำผังความคิดนั้นเราก็ได้ใช้ความคิด วิเคราะห์ไปด้วย และครูยังสามารถสอนให้เด็กๆคิดวิเคราะห์ได้เช่นกัน  แล้วยังได้ทราบถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยว่า มีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไปอย่างไรบ้าง

                  จากนั้นคุณครูก็ได้นำแผนผังความคิดที่้นักศึกษาทำมาส่ง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เช่น เรื่องต้นไม้   ครอบครัว   หมอ  น้ำ ผม เป็นต้น ซึ่งครูก็ได้อภิปรายร่วมกับนักศึกษา และได้แนะนำในส่วนที่ไม่สมบูรณ์ของแผนผังความคิดว่าต้องเพิ่มเติมเนื้อหาอะไรเข้าไปอีก แล้วครูก็ได้สอนเกี่ยวกับมาตรฐานของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรืออักษรย่อว่า  สสวท. ซึ่งมีทั้งหมด 6 มาตรฐาน ดังนี้

                   มาตรฐานแรก จำนวนและการดำเนินการ
                   มาตรฐานที่สอง การวัด
                   มาตรฐานที่สาม เรขาคณิต
                   มาตรฐานที่สี่ พีชคณิต
                   มาตรฐานที่ห้า การวิเคราะห์ข้อมูลหรือความน่าจะเป็น
                   มาตรฐานที่หก ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                   และท้ายชั่วโมงเรียนคุณครูก็มอบหมายงานเกี่ยวกับการนำมาตรฐานทั้ง 6 ของ สสวท. มาประยุกต์ใช้กับสาระสำคัญในการนำไปสอนเด็กๆ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ พร้อมเน้นย้ำว่า ในการสอนเด็กนั้นต้องให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับของจริงเสียก่อน จากนั้นค่อยสอนเกี่ยวกับภาพและการใช้สัญลักษณ์





ภาพกิจกรรมวันนี้





นี่คือแผนผังความคิดที่พวกเราช่วยกันทำค่ะ



แผนผังความคิด





แผนผังความคิด



















อุปกรณ์สำหรับทำแผ่นจิ๊กซอร์



กระดาษจากลัง

ขอเสนอหน้าตาคนทำค่ะ ซึ่งมุมนี้ดูดีที่สุดแล้วค่ะ ฮ่าๆ





คนนี้หน้าตาแอบจริงจัง

เสร็จแล้วค่าาา ชิ้นงานของเรา ภาพนี้ภาพที่ต่อเป้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่ะ



ส่วนภาพนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมนะคะ


จบแล้วค่าา สำหรับไดอารี่การเรียนของปอในวันนี้ มาพบกันใหม่ในครั้งหน้านะคะ สวัสดีงามๆค่าาา


















วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 10 

วันพฤหัสบดี ที่ 3 มกราคม 2556

วันนี้อาจารย์สอนการวัดหาพื้นที่่่ โดยใช้เครื่องมือในการวัด เช่น กระดาษสี่เหลี่ยม ขนาด 4*4   6*6 และ 8*8 โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างให้ดู จากการวัดทีวี จากนั้นก็ได้มอบหมายให้ทำงานเป็นคู่มาส่งในสัปดาห์ต่อไป

บันทึกครั้งที่ 9 

วันพฤหัสบดี ที่ 27 ธันวาคม 2555

ไม่มีการเรียนการสอน



ค้นคว้าเพิ่มเติม


สื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย รูปทรง การวัด
ชื่อเรื่อง รูปร่าง,รูปทรง การวัด
สำ
หรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1
วัตถุประสงค์
 1. เพื่อให้เด็กๆได้รู้จัก รูปทรงและรูปร่าง
 2. เพื่อให้เด็กได้รู้จักความแตกต่างระหว่างรูปร่างกับรูปทรง
3.เพื่อให้เด็กได้รู้จักการชั่งน้ำหนักและการกะประมาณ
อุปกรณ์
  1.กระดาษสี     
  2.กระดาษแข็ง               
  4.กาว 
  5.กรรไกร
6.ไม้ไอติม
7.จานกระดาษ
8.มีด เลื่อย
9.สว่านไฟฟ้า
10.น็อต ,ไม้
11.ตลับเมตร

ขั้นตอนการทำสื่อ
การทำตราชั่ง
1.ใช้ตลับเมตรวัดไม้ตามขนาดที่ต้อง แล้วใช้สว่านไฟฟ้าเจาะรู จากนั้นนำน็อตมาขันไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม
การทำรูปร่างรูปทรง
1.ใช้ไม้ไอติมในการทำรูปสามเหลี่ยม ใช้กาวติดเป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม  ใช้กระดาษตัดเป็นรูปวงกลม วงรี
สี่เหลี่ยมแล้วทำกล่อง

2.ตัดกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยม 
การใช้สอน ขั้นตอนการสอน                                                        
1.กล่าวทักทายเด็กๆ พร้อมสวัสดีตอนเช้าและบอกชื่อหน่วย บอกชื่อกิจกรรม และบอกวัตถุประสงค์
2.เข้าสู่ขั้นนำแล้วยกรูปทรงต่างๆให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่านี่คือรูปอะไร พร้อมอธิบายรูปทรงต่างๆ ให้เด็กรู้ และความแตกต่างระหว่างรูปร่างกับรูปทรง
3.ครูให้เด็กบอกว่าคือรูปอะไรแล้วมันคือรูปร่างหรือรูปทรง
4.ครูให้เด็กแบ่งกลุ่ม แล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกมาชั่งน้ำหนักของผลไม้ต่างๆโดยให้ปรึกษากันก่อนว่าจะเอาอะไรขึ้นชั่งเพื่อจะได้หนักว่าฝ่ายตรงข้าม
5.ครูกับเด็กสรุปพร้อมกันว่ารู้จักอะไรบ้าง แล้วความแตกต่างของรูปร่างรูปทรง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กจะได้รู้รูปร่างรูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
2.เด็กสามารถบอกได้ว่านิยามศัพท์ของรูปร่างรูปทรง รูปเรขาคณิตคืออะไร
3.เด็กได้พัฒนาทักษะทางสังคม และทักษะกระบวนการคิด รู้จักการกะประมาณก่อนการชั่ง
แผนการสอน รูปทรง
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กรู้จักนิยามและความแตกต่างของรูปร่าง รูปทรง
2.เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะทางสังคม สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้
3.เพื่อให้เด็กเกิดความคิดและจินตนาการ
ขั้นนำ
-กล่าวทักทายเด็กๆ พร้อมสวัสดีตอนเช้าและบอกชื่อหน่วย บอกชื่อกิจกรรม และบอกวัตถุประสงค์แล้วยกรูปทรงต่างๆให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่านี่คือรูปอะไร พร้อมอธิบายรูปทรงต่างๆ ให้เด็กรู้ และความแตกต่างระหว่างรูปร่างกับรูปทรง
ขั้นกิจกรรม
-ครูให้เด็กบอกว่าคือรูปอะไรแล้วมันคือรูปร่างหรือรูปทรง
-ครูให้เด็กแบ่งกลุ่ม ๆละ 5 คน ให้เด็กนำรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม กงกลม และหกเหลี่ยมมาต่อเป็นรูปต่างๆ เช่น นำสามเหลี่ยมมาต่อเป็นรูปปลา
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าได้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กจะได้รู้รูปร่างรูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
2.เด็กสามารถบอกได้ว่านิยามศัพท์ของรูปร่างรูปทรง รูปเรขาคณิตคืออะไร
3.เด็กได้พัฒนาทักษะทางสังคม และทักษะกระบวนการคิดและจินตนาการ

แผนการสอน การวัด
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กรู้จักการชั่งน้ำหนักและการคาดคะเน
2.เพื่อให้เด็กได้ฝึกประสาทสัมผัสระหว่างสายตากับมือ                       
ขั้นนำ
-กล่าวคำทักทายเด็กๆ บอกชื่อกิจกรรม บอกวัตถุประสงค์ เตรียมความพร้อมให้ก่อนสอน โดยการปรบมือเป็นจังหวะครูพาเด็กร้องเพลง “กินผัก”พร้อมทำท่าประกอบ
ขั้นกิจกรรม
-ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นสองฝ่าย
-นำผักผลไม้มาให้เด็กดู แล้ว ให้เด็กบอกว่า ลูกไหนใหญ่ ลูกไหนเล็ก อะไรจะหนักกว่ากัน
-ให้เด็กออกมาชั่งผักผลไม้ อาจจะให้เด็กลองชั่ง ผลไม้ชนิดเดียวกัน ต่างชนิดมารวมกัน (ส้มกับส้ม แอบเปิ้ลกับผักกาดขาว มะเขือยาวกับตุ๊กตา) น้ำหนักจะเท่ากันหรือไม่ แต่ก่อนชั่งให้เด็กปรึกษากันก่อนคาดคะเนก่อนว่าอะไรจะหนักกว่ากัน ถ้ากลุ่มไหนชั่งหนักว่าจะเป็นฝ่ายชนะ(การชั่งแต่ละครั้งจะต้องมีจำนวนชิ้นที่เท่ากัน)
ขั้นสรุป
ครูกับเด็กร่วมสรุปว่ารู้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กได้ฝึกทักษะทางสังคม สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้
2.เด็กรู้จักการคาดคะเน และได้ฝึกประสารทสัมผัสระหว่างมือกับตา




















              

 ที่มาของข้อมูล : http://www.learners.in.th/blogs/posts/512228