วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 7 

วันพฤหัสบดี ที่่่ 13 ธันวาคม 2555

           วันนี้อาจารย์สอนเกี่่ยวกับความหมายของมาตรฐาน ซึ่งทำให้เราได้ทราบถึงวิธีการแสดงจำนวน 
เช่น เส้นจำนวน การเขียนเส้นแสดงจำนวน การใช้ตัวเลขกำกับ เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ก็ยังได้สอนเรื่องการวัดว่าการวัดคืออะไร ใช้เครื่องมืออะไรในการวัด เช่น การวัดความยาว การวัดน้ำหนัก วัดค่าเงิน วัดเวลา และวัดอุณหภูมิ หรือการวัดในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางจากบ้านมามหาวิทยาลัย ใช้เวลาเท่าไหร่ ซึ่งเรียนไปเราก็ปวดหัวไปค่ะ เพราะค่อนข้างจะง่วงนอน และหิวด้วย  จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ว่าคืออะไร ซึ่งในส่วนนี้เราจะนำข้อมูลมาเสริมเพิ่มเติมให้ละเอียดยิบในด้านล่างของหน้าที่บันทึกนะคะ 
           และท้ายชั่วโมงอาจารย์ก็ได้สั่งงานให้ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วกลุ่มของเราก็มีสมาชิกด้วยกันสามคน คือ

                     นางสาวสินีนาฏ แสงแพง (ปอ) เลขที่ 20 
                     นางสาวสุภัตรา  ติดยงค์ (ยูบี)  เลขที่ 35
                     นางสาวปรีดาพร  ไก่ฟ้า (ดาด้า) เลขที่ 38



ค้นคว้าเพิ่มเติม

-มาตรฐาน
-การวัด
-การวิเคราะห์



ความหมายของมาตรฐาน


               มาตรฐาน (Standard)   หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้นจากการเห็นพ้องต้องกัน และได้รับ ความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เอกสารดังกล่าววางกฎระเบียบแนวทางปฏิบัติหรือลักษณะ
เฉพาะแห่งกิจกรรม หรือผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้

               หมายเหตุ : มาตรฐานควรตั้งอยู่บนผลที่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และประสบการณ์ โดยมุ่งการส่งเสริมให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน




ความหมายของการวัด


                  การวัด  คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร


หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล(International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย IS เช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ  
การเลือกหน่วยในการวัดควรให้เหมาะสมกับสิ่งที่ใช้วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัดจึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
การบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง  เรียกว่า  การคาดคะเน
หน่วยรากฐานของระบบ  SI  มี  7  หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน  ( basic  quantity ) ได้แก่
เมตร         ( Meter : m )                                   เป็นหน่วยใช้วัดความยาว
กิโลเมตร ( Kilogramme : kg )                          เป็นหน่วยใช้วัดมวล
วินาที      ( Second : s )                                    เป็นหน่วยใช้วัดเวลา
แอมแปร์  ( Ampere : A )                                 เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า
เคลวิน     ( Kelvin : K )                                    เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ
แคนเดลา ( Candela : cd )                                เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
โมล        ( Mole : mol )                                    เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร

เครื่องมือที่ใช้ในการวัด และการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัืด
จึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงการบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่างๆ โดยไม่ได้วัดจริง
เรียกว่า  การคาดคะเน




ความหมายของการวิเคราะห์


                   การวิเคราะห์ หมายถึง การแยกแยะทางความคิด หรือทางวัตถุของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้เห็น องค์ประกอบ เพื่อศึกษาแต่ละองค์ประกอบหรือว่าแยกแยะเพื่อให้เห็นเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งนั้น หรือเรื่องนั้น เวลาวิเคราะห์ต้องพยายามหาคำตอบว่า ข้อความ บทความ เนื้อเรื่องนั้นให้ความรู้อะไรบ้าง ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นอะไรให้ทราบบ้าง มีความรู้สึกอย่างไร






การวิเคราะห์

       หลักการวิเคราะห์

  1. พิจารณาว่าเรื่องนั้นใช้รูปแบบใด เช่น เป็นนิทาน เป็นเรื่องยาว เป็นร้อยกรอง เป็นบทละคร เรื่องสั้น บทความ
  2. แยกเนื้อเรื่องให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
  3. แยกพิจารณาให้ละเอียดว่า เนื้อหาประกอบด้วยอะไรบ้าง
  4. พิจารณาว่าใช้กลวิธีในการนำเสนอเรื่องอย่างไร
  5. ลำดับเหตุการณ์ ตามเหตุผลคือ ลำดับจาเหตุไปหาผล หรือจากผลไปหาเหตุ หรือตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง ความสำคัญมากไปหาความสำคัญน้อย สิ่งที่ใก้ลตัวไปหาไกลตัวจากขวาไปซ้ายหรือซ้ายไปขวา จากเหนือไปใต้หรือใต้ไปเหนือ จากสถานที่ใหญ่ไปหาสถานที่เล็กจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย เป็นต้น
        6. พิจารณาความคิดที่ผู้เขียนต้องสื่อให้ผู้อ่านทราบและความหมายที่แฝงอยู่ในเนื้อเรื่องหรือข้อความนั้น เมื่ออ่านพิจารณาข้อความ บทความ เนื้อเรื่อง เสร็จแล้วจึงตอบคำถาม ข้อควรระวังคือ คำตอบที่ให้เลือกนั้นจะคล้ายคลึงกันมาก บางครั้งดูเหมือนว่าคำตอบเป็นคำตอบที่ถูกต้องทุกข้อ จึงต้องใช้วิจารณญาณ เลือกคำตอบที่ถูกที่สุด
        การวิเคราะห์เรื่องที่อ่านทุกชนิด สิ่งที่จะละเลยเสียมิได้ก็คือ การพิจารณาถึงการใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาว่ามีความเหมาะสมกับระดับและประเภทของงานเขียนหรือไม่ เช่น ในบทสนทนาก็ไม่ควรใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน ควรใช้สำนวนให้เหมาะสมกับสภาพจริงหรือเหมาะแก่กาลสมัยที่เหตุการณ์ในหนังสือนั้นเกิดขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การอ่านวิเคราะห์จึงต้องใช้เวลาอ่านมาก และยิ่งมีเวลาอ่านมากก็ยิ่งมีโอกาสวิเคราะห์ได้ดีมากขึ้น การอ่านในระดับนี้ ต้องรู้จักตั้งคำถามและจัดระเบียบเรื่องราวที่อ่าน เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องและความคิดของผู้เขียนต้องการ

           การวิเคราะห์การอ่าน

        การวิเคราะห์การอ่านประกอบด้วย
  1. รูปแบบ
  2. กลวิธีในการประพันธ์
  3. เนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง
  4. สำนวนภาษา

          กระบวนการวิเคราะห์

        1.ดูรูปแบบของงานประพันธ์ว่าใช้รูปแบบใด อาจเป็นนิทาน บทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น บทร้อยกรอง หรือบทความจากหนังสือพิมพ์
        2.แยกเนื้อเรื่องออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
        3.แยกพิจารณาแต่ละส่วนให้ละเอียดลงไปว่าประกอบกันอย่างไร หรือประกอบด้วยอะไรบ้าง
         4.พิจารณาให้เห็นว่าผู้เขียนให้กลวิธีเสนอเรื่องอย่างไร

               การอ่านเชิงวิเคราะห์ในขั้นต่าง ๆ

               การอ่านวิเคราะห์คำ

        การอ่านวิเคราะห์คำ เป็นการอ่านเพื่อให้ผู้อ่านแยกแยะถ้อยคำในวลี ประโยค หรือข้อความต่าง ๆ โดยสามารถบอกได้ว่าคำใดใช้อย่างไร ใช้อย่างไร ใช้ผิดความหมาย ผิดหน้าที่ไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจนอย่างไร ควรจะต้องหาทางแก้ไขปรับปรุงอย่างไรเป็นต้น เช่น
  1. อย่าเอาไปใช้ทับกระดาษ
  2. ที่นี่รับอัดพระ
  3. เขาท่องเที่ยวไปทั่วพิภพ
  4. เจ้าอาวาสวัดนี้มรณกรรมเสียแล้ว

        การอ่านวิเคราะห์ประโยค

        การอ่านวิเคราะห์ประโยค เป็นการอ่านเพื่อแยกแยะประโยคต่างๆ ว่าเป็นประโยคที่ถูกต้องชัดเจนหรือไม่ ใช้ประโยคผิดไปจากแบบแผนของภาษาอย่างไร เป็นประโยคที่ถูกต้องสมบูรณ์เพียงใดหรือไม่ มีหน่วยความคิดในประโยคขาดเกินหรือไม่ เรียงลำดับความในประโยคที่ใช้ได้ถูกต้องชัดเจนหรือไม่ ใช้ฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็นหรือใช้รูปประโยคที่สื่อความหมายไม่ชัดเจนหรือไม่ เมื่อพบข้อบกพร่องต่างๆ แล้วก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เช่น
  1. สุขภาพของคนไทยไม่ดีส่วนใหญ่
  2. การแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯเกิดการจลาจล
  3. ทุกคนย่อมประสบความสำเร็จท่ามกลางความขยันหมั่นเพียร
  4. เขามักจะเป็นหวัดในทุกครั้งที่ฝนเริ่มตก                                                                                                                            การอ่านวิเคราะห์ทัศนะของผู้แต่ง 
        ผู้อ่านต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบว่าผู้เขียนเสนอทัศนะมีน้ำหนักเหตุผลประกอบข้อเท็จจริงน่าเชื่อถือเพียงใด เป็นคนมองโลกในแง่ใด เป็นต้น
          การอ่านวิเคราะห์รส
        การอ่านวิเคราะห์รส หมายถึง การอ่านอย่างพิจารณาถึงความซาบซึ้งประทับใจที่ได้จากการอ่าน วิธีการที่จะทำให้เข้าถึงรสอย่างลึกซึ้ง คือการวิเคราะห์รสของเสียงและรสของภาพ
        4.1 ด้านรสของเสียง ผู้อ่านจะรู้สึกได้ชัดจากการอ่านออกเสียงดังๆไม่ว่าจะเป็นการอ่านอย่างปกติหรือการอ่านทำนองเสนาะ จึงจะช่วยให้รู้สึกถึงความไพเราะของจังหวะ และความเคลื่อนไหว ซึ่งแฝงอยู่ในเสียง ทำให้เกิดความรู้สึกไปตามท่วงทำนองของเสียงสูงต่ำจากเนื้อเรื่องที่อ่าน
        4.2 ด้านรสของภาพ เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วเกิดความเข้าใจเรื่อง ในขณะเดียวกันทำให้เห็นภาพด้วย เป็นการสร้างเสริมให้ผู้อ่านได้เข้าใจความหมาย การเขียนบรรยายความด้วยถ้อยคำไพเราะ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ก่อให้เกิดภาพขึ้นในใจผู้อ่าน ทำให้เกิดความเพลิดเพลินและเข้าใจความหมายของเรื่องได้ดียิ่งขึ้น

        การอ่านวิเคราะห์ขอบเขตของปัญหาและการตีความเนื้อหาของข้อความ

        การอ่านเชิงวิเคราะห์ ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณา คือ การวิเคราะห์ขอบเขตของปัญหา และการตีความเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
         5.1การวิเคราะห์ขอบเขตของปัญหา มีหลักปฏิบัติดังนี้
  • จัดประเภทหนังสือตามชนิดและเนื้อหา หนังสือแต่ละประเภทมีวิธีอ่านต่างกัน ก่อนอ่านต้องวิเคราะห์รู้ว่า หนังสือเล่มนั้นอยู่ในประเภทใด การแบ่งประเภทจะดูแต่ชื่อเรื่องหรือลักษณะภายนอกเพียงอย่างเดียวไม่ได้ต้องสำรวจเนื้อหาด้วย อย่างไรก็ตาม ชื่อเรื่องเป็นสิ่งแรกที่ใช้้เป็นแนวทางได้ เพราะผู้เขียนย่อมต้องพยายามตั้งชื่อเรื่องให้ตรงแนวเขียนหรือจุดมุ่งหมายในการเขียนของตนให้มากที่สุด
  • สรุปให้สั้นที่สุดว่า หนังสือนั้นกล่าวถึงอะไร หนังสือที่ดีทุกเล่มต้องมีเอกภาพ มีการจัดองค์ประกอบของส่วนย่อยอย่างมีระเบียบ ผู้อ่านต้องพยายามสรุปภาพดังกล่าวออกมาเพียง 1-2 ประโยคว่า หนังสือเล่มนั้นมีอะไรเป็นจุดสำคัญหรือเป็นแก่นเรื่องแล้วจึงหาความสัมพันธ์กับส่วนสำคัญต่อไป
  • กำหนดโครงสังเขปของหนังสือ เมื่ออ่านต้องตั้งประเด็นด้วยว่า จากเอกภาพของหนังสือเล่มนั้นมีส่วนประกอบสำคัญบ้าง ส่วนที่สำคัญๆสัมพันธ์กันโดยตลอดหรือไม่ และแต่ละส่วนก็มีหน้าที่ของตน สนับสนุนซึ่งกันและกันหรือไม่
  • กำหนดปัญหาที่ผู้เขียนต้องการแก้ ผู้อ่านควรพยายามอ่านและค้นพบว่าผู้เขียนเสนอปัญหาอะไร อย่างไร มีปัญหาย่อยอะไร และให้คำตอบไว้ตรงๆหรือไม่ การตั้งปัญหาเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจเรื่อง
แจ่มแจ้ง ยิ่งตั้งปัญหาได้กว้างขวางลึกซึ้งเพียงใด ยิ่งเข้าใจได้เพิ่มขึ้นเพียงนั้น
         5.2 การตีความเนื้อหาของหนังสือ การตีความเป็นสิ่งที่ผู้อ่านทำความเข้าใจ ความคิดของผู้เขียน พิจารณาวัตถุประสงค์ของผู้เขียน ซึ่งบางครั้งผู้เขียนไม่ได้บอกความหมายหรือนัยของข้อความที่เขียนออกมาตรงๆ แต่ผู้อ่านต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจบริบทของเรื่องเป็นอย่างดี จึงจะตีความได้ถูกต้อง การทำความเข้าใจความคิดของผู้เขียนนั้น ไม่ว่าความคิดจะถูกต้องหรือไม่เราจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่การพยายามเข้าใจเช่นนั้นทำให้เราไม่วิจารณ์ผู้เขียนอย่างไม่ยุติธรรม แต่จะพิจารณาทั้งข้อดี ข้อบกพร่อง ของงานเขียนนั้นอย่างแจ่มแจ้ง การตีความเนื้อหาของหนังสือมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
  • ตีความหมายของคำสำคัญ และค้นหาประโยคสำคัญที่สุด ผู้อ่านต้องพยายามเข้าใจคำสำคัญและเข้าใจประเด็นที่สำคัญที่ผู้เขียนเสนอ เพื่อเข้าใจความคิดของผู้เขียน
  • สรุปความคิดสำคัญของผู้เขียน โดยพิจารณาว่าประโยคใดเป็นเหตุ ประโยคใดเป็นผลประโยคใดเป็นข้อสรุป ซึ่งบางครั้งผู้เขียนไม่ได้สรุปความคิดออกมาให้เห็นชัดเจน แต่ผู้อ่านต้องพยายามสรุปออกมาให้ได้
  • ตัดสินว่าอะไรคือการแก้ปัญหาของผู้เขียน เมื่อผู้อ่านตีความสำคัญให้ตรงกับผู้เขียน เข้าใจความคิดสำคัญของผู้เขียน และสรุปความคิดของผู้เขียนได้แล้ว ผู้อ่านก็จะวิเคราะห์หรือตัดสินได้ว่า จากเรื่องราวหรือเหตุผลต่างๆที่ผู้เขียนนำมาเสนอนั้นมีความสมเหตุสมผลหนักแน่น น่าเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด เพื่อนำไปสู่การวิจารณ์หนังสือเรื่องนั้น ๆ ต่อไป

          ตัวอย่างบทวิเคราะห์ตลาดหุ้น โดย คุณ takeshi ito [สิงหาคม พ.ศ. 2545]

         “การลงทุนในตลาดหุ้น มีความเสี่ยงครับ สิ่งที่เราต้องเตรียมตัวก็คือ เตรียมตัวเรา เข้าใจสภาพตลาด และเข้าใจในหุ้นว่าด้วยตลาดก่อน

 ตลาด

        ตลาดจะมีรอบของมันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นรอบของการเล่นกลุ่ม สมมุติ นะครับ สมมุติ ตลาดกำลังเล่น ธนาคาร กับ อสังหา ถามว่า คุณจะซื้อสื่อสารมั๊ยครับ พยายามศึกษาตลาด รอบนี้เล่นอะไร กลุ่มไหน จากนั้นก็ ศึกษารอบของตัวตลาด ยกตัวอย่างเช่น รอบนี้ 340-400 จุด วิธี จะดู ก็หาอ่านเอาจากบทวิเคราะห์ต่างๆ จาก http://www.settrade.com หรือ http://www.qthai.com แต่อย่าเชื่อทั้งหมด พยายามหาเลขที่เหมาะสมโดยลดลงจากบทวิเคราะห์ 10-30 % ยกตัวอย่าง บทวิเคราะห์ว่าไว้ รอบนี้ 340-400 เราอาจจะคิดว่าไม่จริง อาจจะแค่ 358-380

 หุ้น

        ในตัวหุ้นเองมันก็จะมีรอบของมันอยู่ พยายามศึกษาพฤติกรรมและสันดานของหุ้นที่เราจะเล่น ยกตัวอย่างเช่น หุ้น ก. ทั้งปี วิ่งอยู่ 5-9 บาท ปีนึงจะวิ่งอยู่สามครั้ง แต่สภาพตลาด sideway หุ้น ก. จะวิ่งอยู่ 5.8-6.3 ตรงนี้เราสามารถหากำไรจากส่วนต่างตรงนี้ได้”
        ระบบการศึกษาที่สอนให้คนจำข้อมูลและไม่ได้สอนให้คนรู้จักคิด จะส่งผลในทางลบที่เห็นได้ชัดดังต่อไปนี้คือ
        1. คนซึ่งขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จะไม่สามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้ ในการคิดวิเคราะห์หาสาเหตุ จะต้องมองตัวแปรเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและด้วยการพิสูจน์ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการตรวจสอบและทดลอง ถ้าขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก็จะทำให้ไม่เข้าใจสาเหตุของปัญหา ทำให้ความสามารถในการแก้ปัญหาด้อยลง หรือแก้ปัญหาไม่ถูกจุด
        2. ระบบความคิดที่ไม่ได้เน้นที่การวิเคราะห์ย่อมขาดตรรกที่เป็นเหตุเป็นผล และขาดความเข้าใจแนวการวิเคราะห์เรื่องตัวแปรนำและตัวแปรตาม ดังนั้น ความสามารถในการดักปัญหาล่วงหน้าจึงเกิดขึ้นไม่ได้
        3. การขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ถึงเหตุและผล จะทำให้มีแนวโน้มที่จะหาคำตอบจากความคิดที่เป็นความเชื่อ ศรัทธา ความนึกคิดของคนทั่ว ๆ ไป หรือจากประสบการณ์ จึงมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความเชื่อแบบงมงาย หรือการวิเคราะห์ปัญหาที่ไม่สมเหตุสมผลตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งย่อมนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ผิดพลาด
        4. คนที่ขาดความสามารถในการวิเคราะห์ด้วยเหตุและผล ด้วยข้อมูล อาจจะมีความพยายามในการป้องกันตนเองในทางจิตวิทยาด้วยการหาคำถกเถียงจากความรู้สึก จากสามัญสำนึก จากศรัทธา จากอุดมการณ์ จากความรู้สึกทางชาตินิยม ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องการถกเถียงอย่างขอไปทีหรือดันทุรัง และถ้าหากเป็นคนกลุ่มใหญ่ก็จะนำไปสู่ความเสียหายอย่างหนักในแง่การดำเนินนโยบาย
        5. การขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุด้วยผล ทำให้ขาดความเชื่อมั่น ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ทำให้เกิดการชักจูงโดยง่ายด้วยกลุ่มบุคคลที่มีเจตนาที่ไม่สุจริต การปลุกเร้าทางอารมณ์มวลชนที่ขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อาจจะนำไปสู่การรวมกลุ่มทางการเมืองที่ไม่พึงประสงค์
        6. การขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ทำให้ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ทั้งนี้เพราะขาดความเข้าใจปัญหาและขาดความสามารถในการแก้ปัญหา ขาดความคิดริเริ่ม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลที่ขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์มีความเหมาะสมแต่เพียงปฏิบัติตามคำสั่งในลักษณะหุ่นยนต์ ไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ที่ใช้ความคิดในการแก้ปัญหา เพราะขาดความสามารถในการตัดสินใจ คนที่ขาดความคิดย่อมไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่ดีได้
        การศึกษาจะต้องเน้นที่ทำให้คนสามารถคิดวิเคราะห์หาข้อมูล สามารถนำความรู้และข้อมูลที่มีการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา ในการดักปัญหา ในการทำงาน ในการดำรงชีวิต ที่สำคัญที่สุดต้องสามารถวิเคราะห์ตัวเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุที่ทำให้ตัวเองไม่มีความสุข ถ้าการศึกษาขาดคุณลักษณะดังที่กล่าวมาแล้วจะเป็นความล้มเหลวและจะสร้างปัญหาให้กับผู้เรียน แต่ที่สำคัญที่สุดจะส่งผลต่อคุณภาพของประชาชนในประเทศ อันจะมีผลกระทบต่อศักยภาพของการพัฒนาของประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก


http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C

http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/math03/02/Lesson1_2.html


http://app.tisi.go.th/standardization/definition.html







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น