วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ี่ 6

วันพฤหัสบดี ที่่ 6 ธันวาคม 2555


                วันนี้เรียน ก็เจอคำถามแบบเวียนหัวอีกแล้ว  เมื่อครูถามว่า การเล่น กับ การจัดประสบการณ์ต่างกันอย่างไร ซึ่งถามว่าตอบได้ไหม พอตอบได้นะ แบบงง ๆ น่ะ แต่ก็ามารถเข้าใจได้เพราะครูอธิบายให้ฟัง จนระเอียดยิบเลย จากนั้นก็ได้ศึกษาเรื่องการใช้เกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม หรือการจัดกลุ่ม ซึ่งเกณฑ์ที่จะใช้ต้องมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หมายถึงถ้านำไปใช้กับเด็กๆนะ ถ้าผู้ใหญ่ก็ซับซ้อนได้ คือเราต้องดูความเหมาะสมด้วย 
                 และท้ายชั่วโมงครูก็ได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาไปทำกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 6 คน แล้วก็ให้นำกล่องมาคนละกล่อง แล้วก็จับกลุ่มๆ สืบคน เพื่อให้นำกล่องที่เตรียมมา มาแปะติดต่อกัน เป็นรูปอะไรก็ได้ตามความคิดของนักศึกษาแต่ละคน















บันทึกครั้งที่ 5

วัน พฤหัสบดี ที่ 29 พฤศจิกายน 2555


              วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับความหมายของคำว่ามาตรฐานว่าหมายถึงอะไร ซึ่งฉันก็สามารถตอบได้ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง แต่ก็ใกล้เคียง ซึ่งฉันก็ดีใจมากที่สามารถตอบคำถามที่ครูถามได้ เพราะอย่างน้อยๆสมองของฉันก็ได้คิดวิเคราะห์ออกมาบ้าง นั่นก็แสดงว่าสมองยังใช้งานได้อยู่ ต่อจากนั้นครูก็ให้จับคู่นำเสนองานกลุ่มต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่ครูได้มอบหมายไว้ โดยให้แต่ละคู่ออกมานำเสนอหน้าห้องให้เพื่อนๆฟัง แล้วร่วมกันคิดวิคราะห์ในหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอว่าเป็นอย่างไร ควรปรับปรุง หรือเพิ่มเติมส่วนไหนเข้าไป เป็นต้น ซึ่งฉันกับเพื่อนก็ออกไปยืนกรานอยู่หน้าห้องกันสองคน รู้สึกอ้างว้างมากทั้งที่มีคนเยอะแยะ อันดับแรกเราก็แนะนำตัวพอแนะนำตัวเสร็จ เพื่อนฉันก็เป็นคนพูดขึ้น จนจบ ส่วนฉันมีบทบาทคือ ยืนให้กำลังใจอยู่ข้างๆ จนนำเสนอจบ 
              และสุดท้ายก็อยากจะบอกว่า การเรียนในวันนี้ฉันมีความสุข สนุก มากๆ ได้ทั้งสาระความรู้ ความบันเทิง อิ่ม อร่อย ครบถ้วน อย่าบอกใคร ขอบคุณค่ะ ไว้เจอกันใหม่สัปดาห์หน้านะ


ความรู้เพิ่มเติม

ความหมาย และความสำคัญของมาตรฐาน ISO 9000


ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization หรือ International Standard Organization ซึ่งเป็นองค์การสากล ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนด หรือปรับมาตรฐานนานาชาติของเกือบทุกประเทศ (ยกเว้นทางด้านไฟฟ้า ซี่งเป็นหน้าที่ของ IEC)
                 เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในโลกสามารถใช้มาตรฐานเดียวกันเนื่องจากแต่ละประเทศมีมาตรฐานคุณภาพของตนเอง
                                 
                 ปัจจุบันองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน หรือ ISO มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประกอบด้วย
                สมาชิกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกปัจจุบัน 137 ประเทศโดยมีภารกิจหลักๆ ดังนี้
                1. ให้การสนับสนุนพัฒนามาตรฐาน และภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองต่อการขาย การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการ
                ของนานาชาติทั่วโลก
                2. พัฒนาความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และภูมิปัญญาของมวลมนุษยชาติ
                 
                                ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 เป็นระบบการบริหารงานเพื่อให้เกิดคุณภาพ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการ และการ
                ประกันคุณภาพโดยเน้นความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ และตั้งอยู่บนความคิดพื้นฐานที่ว่าเมื่อกระบวนการดี ผลที่ได้ออกมาก็จะ
                ดีตามไปด้วย พนักงานจะต้องได้รับการอบรมเพื่อให้เกิดทักษะ และมีความรับผิดชอบที่จะปฏิบัติงานให้ถูกต้องเป็นระบบทุกขั้นตอน
                ตามเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยืดหยุ่นได้ สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานได้ในทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น
                ด้านอุตสาหกรรม การผลิตและการบริการทุกขนาด เป็นระบบการบริหารงานที่นำไปใช้กันมากที่สุดในโลก
                 
                                ลักษณะสำคัญของ มาตรฐาน ISO 9000
                                1. เป็นมาตรฐาน เกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจด้วยการยึดหลักของคุณภาพ
                                2. เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่สามารถนำไปใช้กับกิจกรรมทุกประเภท
                                3. เป็นมาตรฐานที่นานาชาติยอมรับ และใช้เป็นมาตรฐานของประเทศ
                                4. เป็นระบบการบริหารคุณภาพที่เกี่ยวกับทุกแผนกงาน และทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม
                                5. เป็นการบริหารคุณภาพจากขั้นตอนในกระบวนการนั้น ๆ
                                6. เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญในเรื่องของเอกสารการปฏิบัติงาน โดยนำสิ่งที่มีการปฏิบัติอยู่มาทำเป็นเอกสาร แล้วจัดเป็น
                หมวดหมู่มีระบบทำให้นำไปใช้งานได้สะดวกและเกิดประสิทธิภาพ
                                7. เป็นระบบงานที่เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการทำงานได้
                ตลอดเวลา
                                8. เป็นมาตรฐานขององค์กรทั้งหมด
                                9. เป็นมาตรฐานคุณภาพที่ประเทศไทยรับรองเป็นมาตรฐานคุณภาพ มอก. 9000


แหล่งที่มา:http://202.143.168.214/uttvc/wbi2553/meaniso9000.html



                                              มาตรฐานวิชาชีพครู


ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่น
ศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสําคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกําหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม นั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กําหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชํานาญเฉพาะด้านและความชํานาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กําหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ เพียงพอที่จะดํารงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดํารงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกําหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทําให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ยกข้อกล่าวหา
(2) ตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกําหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
(5) เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ดําเนินการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสํารวจความคิดเห็น จัดประชุมสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งด้านการผลิต การพัฒนา และการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนํามากําหนดเป็นสาระสําคัญของมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุรุสภาในคราวประชุมครั้งที่ 5/2548 วันที่ 21 มีนาคม 2548 และที่ประชุม คณะกรรมการคุรุสภาครั้งที่ 6/2548 วันที่ 18 เมษายน 2548 ได้อนุมัติให้ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะต้องประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ อันถือเป็นเป้าหมายหลักของการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้สามารถนําไปใช้ในการประกอบวิชาชีพให้สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงและได้รับการยอมรับยกย่องจากสังคม
แหล่งอ้างอิง : http://onumpai.multiply.com/journal/item/3

เกณฑ์มาตรฐาน- วิชาชีพครู ตามกระทรวงศึกษาธิการ.


มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
คำอธิบายมาตรฐานที่ 1
การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และ การเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงาน หรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม การอบรม การสัมมนา และการประชุมปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีผลงานหรือรายงานที่ปรากฏชัดเจน
คำอธิบายมาตรฐานที่ 2
การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน หมายถึง การ-เลือกอย่างชาญฉลาดด้วยความรักและหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้น ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่น ๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
คำอธิบายมาตรฐานที่ 3
การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของครูที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหาความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิม รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
คำอธิบายมาตรฐานที่ 4
การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง หมายถึง การเลือกใช้ ปรับปรุง หรือสร้างแผนการสอน บันทึกการสอน หรือ เตรียมการสอนในลักษณะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
คำอธิบายมาตรฐานที่ 5
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ หมายถึง การประดิษฐ์คิดค้น ผลิต เลือกใช้ ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ จุดประสงค์ของการเรียนรู้
คำอธิบายมาตรฐานที่ 6
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวร หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามสภาพความแตกต่างของบุคคล ด้วยการปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
คำอธิบายมาตรฐานที่ 7
การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ หมายถึง การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาเหตุ ปัจจัย และ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้
1. ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการได้รับการพัฒนาและเป้าหมายของ
การพัฒนาผู้เรียน
2. เทคนิค วิธีการ หรือ นวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ
ของผู้เรียน และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้น ๆ
3. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนดที่เกิดกับผู้เรียน
4. ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
คำอธิบายมาตรฐานที่ 8
การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การแสดงออก การประพฤติและปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย กิริยา วาจา และจริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธาและถือเป็นแบบอย่าง
คำอธิบายมาตรฐานที่ 9
การร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความ-สำคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา และ ร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
คำอธิบายมาตรฐานที่ 10
การร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน หมายถึง การตระหนักในความสำคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน และร่วมมือปฏิบัติ-งานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ
คำอธิบายมาตรฐานที่ 11
การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน โดยเฉพาะ สารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
คำอธิบายมาตรฐานที่ 12
การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หมายถึง การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการนำปัญหาหรือความจำเป็นในการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการเรียน และ การจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงเรียน มา กำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบหนึ่ง ที่จะนำเอาวิกฤติต่าง ๆ มาเป็นโอกาสในการพัฒนา ครูจำเป็นต้องมองมุมต่าง ๆ ของปัญหา แล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา กำหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนาของผู้เรียน ครูจึงต้องเป็นผู้มองมุมบวกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ กล้าที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มีสติในการแก้ปัญหา มิได้ตอบสนองปัญหาต่าง ๆ ด้วยอารมณ์หรือแง่มุมแบบตรงตัว ครูสามารถมองหักมุมในทุก ๆ โอกาส มองเห็นแนวทางที่นำสู่ผลก้าวหน้าของผู้เรียน
กระทรวงศึกษาธิการ : ประกาศ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 สำนักเลขาธิการคุรุสภา
แหล่งอ้างอิง : http://www.kroobannok.com/21343

http://www.kruchiangrai.net/2012/07/29










วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 4
วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

            การเรียนในการสอนในวันนี้สนุกมากๆค่ะ ได้ใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ คือการวาดรูป และได้คิดใช้เหตุและผลในการตอบคำถามของอาจารย์ด้วยค่ะ   วันนี้อาจารย์ก็ให้วาดรูปที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง จะวาดรูปอะไรก็ได้ ลงไปในกระดาษที่อาจารย์แจกให้ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกับการสอนคณิตศาสตร์ เช่น การเรียงลำดับ การนับจำนวน การจัดกลุ่ม เป็นต้น โดยอาจารย์ใช้เกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม คือ ใครที่มาก่อนเวลาแปดโมงสามสิบนาที ให้เอารูปที่ตัวเองวาดออกมาแปะไว้ที่กระดานหน้าชั้นเรียน และคนที่มาก่อนเวลาที่กำหนดก็มีทั้งหมดแปดคน จากนั้นอาจารย์ก็ให้จับคู่ทำงานที่ได้รับมอบหมาย แล้วนำชิ้นงานนั้นส่งท้ายคาบ




นี่คือรูปภาพที่ฉันวาดเองค่ะ 



























วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

          วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำงานกลุ่มละสามคน แล้วให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยให้นำข้อมูลของแต่ละคนที่หามา นำข้อมูลส่วนนั้นมาแลกเปลี่ยนกัน แล้วให้เขียนรวมเป็นเนื้อหาเดียวกัน คือการยกเอาข้อมูลของแต่ละคนมารวมกันนั่นเอง

ซึ่งหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้ทำมีดังนี้

1.ความหมายของคณิตศาสตร์
2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
3.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
4.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

ซึ่งกลุ่มของเราก็ได้นิยามไว้ดังนี้

ความหมายของคณิตศาสตร์

           คำว่าคณิตศาสตร์ มาจากสองคำ คือ คำว่า คณิต+ศาสตร์ คณิต คือ การนับหรือการคำนวณ และศาสตร์ คือ ความรู้และการศึกษา ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการนับ การคำนวณและการประมาณ

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์

            การจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการคิด การนับ การคำนวณ และการตัดสินใจ ที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม

ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์

             1. ทฤษฎีแห่งการฝึกฝน ทฤษฎีนี้เชื่อว่า เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี โดยการฝึกทำซ้ำๆ หลายๆครั้ง
             2. ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ ทฤษฎีนี้เชื่อว่า เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี เมื่อเกิดความพร้อม
             3. ทฤษฎีแห่งความหมาย ทฤษฎีนี้เชื่อว่า เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี เมื่อเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่่มีความหมายต่อตนเอง

            4.ทฤษฎีเชื่อมโยง สถานการณ์จากสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยอาศัยกฎการเรียนรู้ 3 กฎ ได้แก่

                               กฎของการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ 
กฎแห่งผลกรรม
     กฎแห่งความพร้อม
            5. ทฤษฎีเสริมแรง
            6.ทฤษฎีฝึกสมอง
            7.ทฤษฎีการสรุป
            8.ทฤษฎีการหยั่งรู้
            9.ทฤษฎีการผ่อนคลาย
          10.ทฤษฎีการสอนแบบธรรมชาติ เช่น การเรียนจากการใช้ชีวิตประจำวัน

ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

  1. การนับ เช่น การนับตามลำดับ ตั้งแต่ 1 ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
  2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กได้รู้จักตัวเลข
  3.การจับคู่ เป็นการสอนให้เด็กรู้จักสังเกต
  4.การจัดประเภท
  5.การเปรียบเทียบ
  6.การจัดลำดับ
  7.รูปทรงและเนื้อหา เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม กว้างและแคบ
  8.การวัด มักให้เด็กลงมือด้วยตนเอง
  9.เซต
10.เศษส่วน


เก็บตกการเรียน





กำลังสร้างภาพ

ตั้งหน้าตั้งตาจด

กำลังอภิปรายภายในกลุ่ม

ใกล้เสร็จแล้ว



ปิดท้ายด้วยการยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม


แหล่งที่มา: คุณสุวร, คุณจันทร์เพ็ญ และคุณวรรณี







วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



บันทึกครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดี ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



            อาจารย์สอนเกี่ยวกับการนำสิ่งของต่างๆที่มีอยู่รอบตัวเรา ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ซึ่่งพิจารณาสิ่งของนั้น เช่น มีรูปทรง จำนวน ขนาด ปริมาตร เป็นต้น  จากนั้นก็ได้ชี้แจงว่าการทำบล็อกต้องมีอะไรบ้าง เป็นองค์ประกอบ เพื่อให้บล็อกมีความสมบูรณ์มากที่สุด รวมถึงแนะนำวิธีการเลือกใช้สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ว่าควรเลือกสื่อที่มีลักษณะอย่างไร ซึ่งสื่อที่นำมาใช้กับเด็กนั้นต้องเป็นสื่อที่เด็กสามารถจับต้องได้ หรือสื่อนั้นจะต้องมีความคงทน ไม่แตกหักง่าย เป็นต้น 

งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ :  อาจารย์ให้ไปค้นคว้าหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ตึก
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับงานที่มอบหมายให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาของงานยิ่งขึ้น


ค้นคว้าเพิ่มเติม

การพัฒนาการเมื่อลูกอายุ 2 ขวบ


           คุณพ่อคุณแม่อาจจะตื่นเต้น เมื่อถึงเวลาจัดงานวันเกิดขวบปีที่ 2 ให้ลูก เพราะช่วงนี้ลูกจะมีพัฒนาการทางด้านต่างๆได้มากขึ้น และเขาจะเริ่มมีพฤติกรรมการแสดงออก เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เช่น จะพยายามทำอะไรต่างๆ เอง (บางครั้งจะแย่งทำเอง และไม่ยอมให้ใครมาทำให้) เช่น จะพยายามแต่งตัวเอง (ใส่เสื้อ, ถอดเสื้อ), ทานข้าวเอง, พูดได้เก่งขึ้น และจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายได้บ้าง และถึงแม้ว่าลูกจะทำอะไรๆได้หลายอย่างขึ้น และภาคภูมิใจกับพัฒนาการใหม่ๆ ที่ตนเองทำได้เหมือนเด็กโต แต่ในบางครั้ง ลูกก็ยังเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ดี ทำให้คุณพ่อคุณแม่หัวปั่นได้พอควรทีเดียวเนื่องจะอ่านใจลูกไม่ทันว่าจะมาไม้ไหน

การพัฒนาการด้านสติปัญญา การใช้ภาษา

เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ลูกควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ได้
  • ชี้ไปที่สิ่งของหรือรูปภาพนั้นๆ ตามที่ผู้ใหญ่เรียกชื่อของนั้นๆได้ถูกต้อง
  • สามารถบอกชื่อสิ่งของ, คน, หรือสิ่งต่างๆรอบตัวที่คุ้นเคย รวมทั้งส่วนอวัยวะต่างๆของร่างกาย (เช่น ปาก, จมูก, หู ฯลฯ) ได้
  • พูดเป็นประโยคสั้นๆ 2-4 คำ การพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ชอบการเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง แยกจากคุณแม่ได้ เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ลูกควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ได้
  • แสดงออกทางอารมณ์และท่าทาง ว่าอยากทำอะไรเอง (independence) เช่น ต้องการใสเสื้อผ้าชุดนั้นชุดนี้ โดยไม่ยอมใส่ตามที่คุณแม่เป็นคนเลือกให้ จัดให้
  • เริ่มมีพฤติกรรมต่อต้าน (หรือดื้อ) ไม่ทำตามที่คุณบอกให้ทำ เพื่อทดสอบว่า คุณจะยอมเขาได้แค่ไหน (testing the limits) เช่น วาดภาพขีดเขียนบนผนังบ้าน ทั้งๆ ที่คุณบอกว่าไม่ให้ทำ ฯลฯ
  • เริ่มยอมให้คุณแม่ไปทำธุระได้ โดยปล่อยเขาไว้กับพี่เลี้ยง หรือคนใกล้ชิดที่เขาคุ้นเคยด้วย ไม่จำเป็นต้องตัวติดกันกับคุณแม่ไปตลอด ( separation anxiety ลดน้อยลง)



พัฒนาการทางด้านร่างกาย
เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ลูกควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ได้
  • สามารถถอดเสื้อผ้าที่ใส่อยู่ออกได้เอง
  • อาจเริ่มให้ความร่วมมือในการฝึกการขับถ่าย (toilet training) ตั้งแต่อายุ ประมาณ 18-24 เดือน (แต่บางคนก็อาจจะช้ากว่านั้น คือเริ่มเมื่อตอนอายุ 3-4 ขวบ)
  • เริ่มทานข้าวเอง การฝึกการขับถ่าย (toilet training) เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ลูกควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ได้
  • สามารถคุมการปัสสาวะ (ไม่ฉี่ได้) นานประมาณ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
  • สนใจทำเลียนแบบ การทำกิจกรรมในห้องน้ำอย่างที่คนอื่นๆทำ
  • เริ่มรู้ถึงรู้สึกปวดฉี่, ปวดอึ ว่าเป็นสิ่งเตือนให้ต้องไปทำธุระในห้องน้ำ









แหล่งที่มา : พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์    คลินิกเด็ก.คอม

                   http://www.clinicdek.com/index.php?option=com_content&task=view&id=127&Itemid=26


การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5









การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5


     การแสดงละครสร้างสรรค์เป็นการแดสงที่ต้องเน้นการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นได้รับรู้ ดังนี้ การฝึกปฏิบัติในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เกิดความชำนาญ จะต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง มีสมาธิในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการแสดงออก และเกิดจินตนาการ     ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัสด้วยกาย เพื่อให้มีความไว และความละเอียด แล้วนำมาใช้ในการแสดงได้เป็นอย่างดี ดังนี้     การได้เห็น  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ตา ซึ่งผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางตา เพื่อให้ไวต่อการสร้างสรรค์ผลงานโดยผู้แสดงจะต้องสังเกต และมองสิ่งรอบ ๆ ตัว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดปัญหาในขณะกำลังแสดงอยู่      การได้ยิน  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง หู ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการฟัง เพราะอาจต้องใช้ในการแสดงบางประเทที่มีการบอกบทในขณะแสดง ระบบการได้ยินจึงต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการแสดงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี     การได้กลิ่น เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง จมูก ผู้แสดงจะต้องมีความไวต่อการได้กลิ่น และสามารถบอกได้ว่าเป็นกลิ่นอะไรแสดงสีหน้าท่าทางอย่างไรเมื่อได้กลิ่นนั้น ๆ     การได้ลิ้มรส  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ลิ้น ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการชิมรส ต้องรับรู้รสต่าง ๆ ได้แม่นยำและสามารถแสดงสีหน้าท่าทางเมื่อได้รับรู้รสนั้น ๆ     การได้สัมผัส  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง มือ หรือ ผิวหนังส่วนอื่น ผู้แสดงจะต้องมีความรู้สึกไวต่อสิ่งของที่ได้สัมผัสแต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น ผิวหยาบ ผิวนุ่ม ผิวแข็ง และเมื่อได้สัมผัสสิ่งนั้น ๆ มีท่าทางความรู้สึกอย่างไร     การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่เสมอ จะทำให้ผู้แสดงมีความรู้และการรับรู้ฉับไวในการแสดงแต่ละอย่าง และสามารถสร้างสรรค์งานละครได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

      กิจกรรมที่นำมาฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีหลายกิจกรรม เช่น      1.  ฝึกการมอง  ให้นักแสดงฝึกมองสิ่งต่าง ๆ โดยให้ดูลักษณะภายนอกที่มองเห็นว่าเป็นสิ่งใด แล้วฝึกการแสดงออกโดยใช้สายตา เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจ เช่น เห็นสัตว์ดุร้าย ทำตาโตแบบตกใจเห็นแสงสว่างมาก หรี่ตาและใช้มือบังตา เป็นต้น      2.  ฝึกการฟังเสีย  ให้นักแสดงทายเสียงดนตรี หรือเสียงสัตว์ต่าง ๆ โดยไม่ให้เห็นที่มาของเสียง จากนั้นจึงแสดงท่าทางประกอบ โดยให้สอดคล้องกับเสียงที่ได้ยิน เช่น ได้ยินเสียงดังให้เอามือปิดหู ได้ยินเสียงกระซิบให้เอามือป้องหู เป็นต้น     3.  ฝึกการดมกลิ่น  ให้นักแสดงหลับตาและดมกลิ่น แล้วทายว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เช่น ดอกไม้ ผลไม้ ผัก เป็นต้น จากนั้นฝึกแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับกลิ่นที่ได้สัมผัส เช่น ได้ดมกลิ่นเหม็นให้เอามือปิดจมูก ได้ดมกลิ่นหอมให้ทำท่าสูดกลิ่นอย่างแรง เป็นต้น     4.  ฝึกการชิมรส  ให้นักแสดงหลับตาทายอาหารที่ชิมหลาย ๆ ชนิดว่าเป็นอาหารประเภทไหน ชื่ออะไร เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น จากนั้นจึงฝึกแสดงท่าทางประกอบให้สัมพันธ์กับการรับรู้รสนั้น ๆ เช่น ได้รับรู้รสเผ็ดให้แสดงอาการซู้ดปาก และเอามือพัดปากได้รับรู้รสขมให้ทำหน้าตาบูดเบี้ยว เป็นต้น     5.  ฝึกการสัมผัส  ให้นักแสดงหลับตาแล้วคลำสิ่งของต่าง ๆ โดยใช้การสัมผัส เช่น ใช้มือคลำสิ่งของต่าง ๆ แล้วทายว่าเป็นอะไร จากนั้นฝึกแสดงท่าทางประกอบ โดยให้สอดคล้องกับสิ่งที่ได้สัมผัส เช่น ได้สัมผัสกับขนปุยของลูกสุนัขให้แสดงท่าทางเอามือลูบไล้เบา ๆ ได้สัมผัสหนามแหลมคมให้กระตุกมือขึ้น เป็นต้น

     จังหวะกับการเคลื่อนไหว


     การฝึกเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับจังหวะถือว่าเป็นพื้นฐานการแสดงอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการฝึกการใช้อวัยวะทุกส่วนให้เคลื่อนไหวอย่างคล่องแคคล่วและสอดคล้องกับจังหวะที่ได้ยิน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การแสดงต่าง ๆ ที่พร้อมจะเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งต่าง ๆ ที่มากระตุ้น เช่น เสียงรถไฟ เสียงดนตรี เป็นต้น เพื่อให้ได้ลีลาสวยงามและมีศิลปะ     การเคลื่อนไหวตามจังหวะอาจฝึกได้จากการเดิน การวิ่ง การกระโดด เป็นต้น โดยให้สอดคล้องกับจังหวะที่ได้ยิน     การแสดงละครใบ้     การแสดงละครใบ้ คือ การแสดงโดยไม่ใช้คำพูด แต่จะใช้ท่าทางคำพูด ซึ่งผู้แสดงจะต้องแสดงกิริยาท่าทางให้ผู้ชมเข้าใจความหมายให้ได้     การกระทำกิริยาท่าทางในการแสดงละครใบ้ ผู้แสดงต้องแสดงให้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อสามารถสื่อให้ผู้ชมทายได้ว่า กำลังอะไรหรือเป็นอะไร เช่น แต่งหน้า ทานข้าว หรือแสดงเป็นตำรวจ คนตาบอด เป็นต้น


แหล่งที่มา: อกรินทร์ สีมหาศาล และคณะ. ศิลปะ ป.3. พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
                    http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2755
                    http://www.google.co.th/imgres?
                    http://www.gotoknow.org/blogs/posts/71857

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


เพลงคณิตสนุก ๆ


เพลงทศนิยม
เนื้อร้อง ราตรี รุ่งทวีชัย           ทำนอง ระบำยอดหญ้า
มาซิมาบวกลบคิดทศนิยม (ซ้ำ)
ชื่นชมสมเป็นนักคณิตศาสตร์ (ซ้ำ)ตั้งจุดให้ตรงกันอย่าให้พลาดคิดเลขบวกลบอย่างเก่งกาจสมองเปรื่องปราชญ์จริงเอยหากคูณทศนิยม สนุกน่าชม ไม่เห็นยากเลยโจ๊ะพรึม ๆ โจ๊ะพรึม ๆ โจ๊ะพรึม ๆ โจ๊ะพรึม ๆ ก็คูณธรรมดา ผลลัพธ์ออกมานับตำแหน่งรวมเลย โจ๊ะพรึม ๆ โจ๊ะพรึม ๆ โจ๊ะพรึม ๆ โจ๊ะพรึม ๆ พรึม
ให้แม่นยำ อย่าทำหน้าเศร้า
อ่านโจทย์พลันอย่าหวั่นไหว โจทย์บอกอะไรไหนลองตรองดู 
เมื่อได้รู้เข้าใจดี บอกวิธีคิดซิทันใด
แบ่งกลุ่มกันอ่านเร็วไว ไม่เข้าใจตรงไหนถามครู เลือกเสาะหาสื่อ
มาดู ได้เรียนรู้ชัดเจนแน่นอน
เลขโจทย์ต้องอ่านหลายที เพราะว่าโจทย์นั้นมีปัญหาซับซ้อน 
ทำความเข้าใจไปทีละตอน บันทึกไว้ก่อนโจทย์สั่งให้ทำอะไร
จะไม่ผิดต้องตีความเป็น ไม่ยากเย็นแปลความให้ได้ 
อีกขั้นตอนต่อไปต้องฝึกคิดคำนวณ
ขั้นแสดงวิธีทำนั้น เราต้องย่อความสรุปชัดเจน 
พิจารณาปัญหาของโจทย์ เพื่อประโยชน์ในการเขียนแสดง 
ถ้าคิดไม่ได้ทบทวนดูใหม่ อ่านให้เข้าใจแล้วก็เขียนได้เอง
คำร้อง ศ.ยุพิน พิพิธกุล           ทำนอง เพลงผู้ใหญ่ลี
พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีเรียนจบอเมริกา กลับบ้านแต่งสูตรตำรา
คณิตศาสตร์สรรหาเอามาทำเป็นเพลง
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะบอกกล่าว (ซ้ำ) ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวงกลม
เส้นรอบวงก็คือสองพายอาร์ (2pr) (ซ้ำ) พื้นที่นั้นหนากำลังสองอาร์คูณพาย
(r2 ´p) ถ้าหากใครจำไม่ได้ ไปปลูกคอตายบนต้นชะอม
(นอย นอย นอย นอย นอย นอย) (ซ้ำ)

คำร้อง ศ.ยุพิน พิพิธกุล           ทำนอง เพลงผู้ใหญ่ลี
พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีเรียนจบอเมริกา กลับบ้านแต่งสูตรตำรา
คณิตศาสตร์สรรหาเอามาทำเป็นเพลง
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะบอกกล่าว (ซ้ำ) ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวงกลม
เส้นรอบวงก็คือสองพายอาร์ (2pr) (ซ้ำ) พื้นที่นั้นหนากำลังสองอาร์คูณพาย
(r2 ´p) ถ้าหากใครจำไม่ได้ ไปปลูกคอตายบนต้นชะอม
(นอย นอย นอย นอย นอย นอย) (ซ้ำ)

พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีเรียนจบอเมริกา กลับบ้านแต่งสูตรตำรา
คณิตศาสตร์สรรหาเอามาทำเป็นเพลง 
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะบอกกล่าว (ซ้ำ) ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวงกลม 
เส้นรอบวงก็คือสองพายอาร์ (2pr) (ซ้ำ) พื้นที่นั้นหนากำลังสองอาร์คูณพาย 
(r2 ´p) ถ้าหากใครจำไม่ได้ ไปปลูกคอตายบนต้นชะอม 
(นอย นอย นอย นอย นอย นอย) (ซ้ำ)

คำร้อง รัชนี โสพันธ์           ทำนอง คุณลำใย
คำร้อง รัชนี โสพันธ์           ทำนอง คุณลำใย




เพลงโจทย์ปัญหา
เนื้อร้อง ราตรี รุ่งทวีชัย           ทำนอง เต่า งูและกา
โจทย์ปัญหาเป็นปัญหา พวกเรามาศึกษากันดู จะได้รู้ช่วยตีความ 
เพลงโจทย์ปัญหา
เนื้อร้อง อ.ดวงจิตต์ กาญจนมยูร           ทำนอง เพลงเด็กปั๊ม
เพลงวงกลม

เพลงสูตรการหาพื้นที่
จะจำไม่เคยลืมเลือน จะเตือนตัวเองเอาไว้
พื้นที่สี่เหลี่ยมพื้นผ้าไง จะจำเอาไว้ว่า กว้าง คูณ ยาว
พื้นที่จัตุรัสทำไง เอ่อพึงนึกได้ว่า ด้าน คูณ ด้าน
ความยาวของฐานและก็คูณสูงเข้าไป อันนี้ไม่ใช่ของใครสี่เหลี่ยมด้านขนานไงหนูลืมหรือยัง
พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู คุณน้องหนู ๆ จงฟังดังนี้ เศษ1 ส่วน 2 คูณซิก็คูณผลบวกของด้านคู่ขาน
อีกอย่างอย่าลืมอันนี้ คูณสูงด้วยซี จะโชคดี โชคดี




บันทึกครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี ที่ 1 พ.ย. 2555

            วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดภาคเรียนที่ 2 แห่งปีการศึกษา 2555 และเป็นวันแรกในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204 กลุ่ม 103 เวลา 08:30 - 12:20 น. ก่อนจะเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ก็ได้ชี้แจง ถึงการปฏิบัติตนในห้องเรียนหรือการมาเรียน เช่น ต้องแต่งกายให้ถูกระเบียบ เป็นต้น แล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษาลงชื่อเข้าเรียนสำหรับวันนี้

            เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้ความหมายของคำว่า "ทักษะ" ว่ามีความหมายอย่างไร และได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นออกมา นอกจากนี้อาจารย์ก็ให้กระดาษคนละหนึ่งแผ่น ให้นักศึกษาเขียนว่า    -  คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความเข้าใจของนักศึกษาเป็นอย่างไร โดยให้เขียนมา สองประโยคตามความเข้าใจของนักศึกษาเอง และห้ามลอกเพื่อน
                -   นักศึกษาคิดว่าจะได้เรียนรู้ในเรื่องอะไรบ้าง จากรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

            ต่อจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายในเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้แผนผังความคิด ซึ่งได้อภิปรายร่วมกันกับนักศึกษาด้วย เ่ช่น การรับรู้ กับ การเรียนรู้ สองคำนี้มีความหมายอย่างไร มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เป็นต้น


** วุฒิภาวะ =  พัฒนาการ+ประสบการณ์** ทักษะ คือ การฝึกฝน การทำสิ่งนั้นบ่อยๆ เป็นประจำ สม่ำเสมอ หรือมีความต่อเนื่องกัน จนเกิดเป็นความชำนาญ 
** พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นและมีความต่อเนื่องกัน
**การรับรู้ คือ การได้รับประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
**การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 
**การรับรู้และการเรียนรู้ ทั้งสองคำนี้มีความสัมพันธ์กัน ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
**ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่ว่า ทำไมต้องมีการเรียนรู้?
**ให้แสดงความคิดเห็นของคำว่า การรับรู้และการเรียนรู้

ค้นคว้าเพิ่มเติม

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน

จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่