บันทึกครั้งที่ 2
วันพฤหัสบดี ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
อาจารย์สอนเกี่ยวกับการนำสิ่งของต่างๆที่มีอยู่รอบตัวเรา ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ซึ่่งพิจารณาสิ่งของนั้น เช่น มีรูปทรง จำนวน ขนาด ปริมาตร เป็นต้น จากนั้นก็ได้ชี้แจงว่าการทำบล็อกต้องมีอะไรบ้าง เป็นองค์ประกอบ เพื่อให้บล็อกมีความสมบูรณ์มากที่สุด รวมถึงแนะนำวิธีการเลือกใช้สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ว่าควรเลือกสื่อที่มีลักษณะอย่างไร ซึ่งสื่อที่นำมาใช้กับเด็กนั้นต้องเป็นสื่อที่เด็กสามารถจับต้องได้ หรือสื่อนั้นจะต้องมีความคงทน ไม่แตกหักง่าย เป็นต้น
งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ : อาจารย์ให้ไปค้นคว้าหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ตึก
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับงานที่มอบหมายให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาของงานยิ่งขึ้น
ค้นคว้าเพิ่มเติม
การพัฒนาการเมื่อลูกอายุ 2 ขวบ
คุณพ่อคุณแม่อาจจะตื่นเต้น เมื่อถึงเวลาจัดงานวันเกิดขวบปีที่ 2 ให้ลูก เพราะช่วงนี้ลูกจะมีพัฒนาการทางด้านต่างๆได้มากขึ้น และเขาจะเริ่มมีพฤติกรรมการแสดงออก เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เช่น จะพยายามทำอะไรต่างๆ เอง (บางครั้งจะแย่งทำเอง และไม่ยอมให้ใครมาทำให้) เช่น จะพยายามแต่งตัวเอง (ใส่เสื้อ, ถอดเสื้อ), ทานข้าวเอง, พูดได้เก่งขึ้น และจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายได้บ้าง และถึงแม้ว่าลูกจะทำอะไรๆได้หลายอย่างขึ้น และภาคภูมิใจกับพัฒนาการใหม่ๆ ที่ตนเองทำได้เหมือนเด็กโต แต่ในบางครั้ง ลูกก็ยังเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ดี ทำให้คุณพ่อคุณแม่หัวปั่นได้พอควรทีเดียวเนื่องจะอ่านใจลูกไม่ทันว่าจะมาไม้ไหน
การพัฒนาการด้านสติปัญญา การใช้ภาษา
เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ลูกควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ได้
- ชี้ไปที่สิ่งของหรือรูปภาพนั้นๆ ตามที่ผู้ใหญ่เรียกชื่อของนั้นๆได้ถูกต้อง
- สามารถบอกชื่อสิ่งของ, คน, หรือสิ่งต่างๆรอบตัวที่คุ้นเคย รวมทั้งส่วนอวัยวะต่างๆของร่างกาย (เช่น ปาก, จมูก, หู ฯลฯ) ได้
- พูดเป็นประโยคสั้นๆ 2-4 คำ การพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ชอบการเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง แยกจากคุณแม่ได้ เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ลูกควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ได้
- แสดงออกทางอารมณ์และท่าทาง ว่าอยากทำอะไรเอง (independence) เช่น ต้องการใสเสื้อผ้าชุดนั้นชุดนี้ โดยไม่ยอมใส่ตามที่คุณแม่เป็นคนเลือกให้ จัดให้
- เริ่มมีพฤติกรรมต่อต้าน (หรือดื้อ) ไม่ทำตามที่คุณบอกให้ทำ เพื่อทดสอบว่า คุณจะยอมเขาได้แค่ไหน (testing the limits) เช่น วาดภาพขีดเขียนบนผนังบ้าน ทั้งๆ ที่คุณบอกว่าไม่ให้ทำ ฯลฯ
- เริ่มยอมให้คุณแม่ไปทำธุระได้ โดยปล่อยเขาไว้กับพี่เลี้ยง หรือคนใกล้ชิดที่เขาคุ้นเคยด้วย ไม่จำเป็นต้องตัวติดกันกับคุณแม่ไปตลอด ( separation anxiety ลดน้อยลง)
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ลูกควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ได้
- สามารถถอดเสื้อผ้าที่ใส่อยู่ออกได้เอง
- อาจเริ่มให้ความร่วมมือในการฝึกการขับถ่าย (toilet training) ตั้งแต่อายุ ประมาณ 18-24 เดือน (แต่บางคนก็อาจจะช้ากว่านั้น คือเริ่มเมื่อตอนอายุ 3-4 ขวบ)
- เริ่มทานข้าวเอง การฝึกการขับถ่าย (toilet training) เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ลูกควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ได้
- สามารถคุมการปัสสาวะ (ไม่ฉี่ได้) นานประมาณ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
- สนใจทำเลียนแบบ การทำกิจกรรมในห้องน้ำอย่างที่คนอื่นๆทำ
- เริ่มรู้ถึงรู้สึกปวดฉี่, ปวดอึ ว่าเป็นสิ่งเตือนให้ต้องไปทำธุระในห้องน้ำ
แหล่งที่มา : พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ คลินิกเด็ก.คอม
http://www.clinicdek.com/index.php?option=com_content&task=view&id=127&Itemid=26
การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5
การแสดงละครสร้างสรรค์เป็นการแดสงที่ต้องเน้นการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นได้รับรู้ ดังนี้ การฝึกปฏิบัติในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เกิดความชำนาญ จะต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง มีสมาธิในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการแสดงออก และเกิดจินตนาการ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัสด้วยกาย เพื่อให้มีความไว และความละเอียด แล้วนำมาใช้ในการแสดงได้เป็นอย่างดี ดังนี้ การได้เห็น เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ตา ซึ่งผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางตา เพื่อให้ไวต่อการสร้างสรรค์ผลงานโดยผู้แสดงจะต้องสังเกต และมองสิ่งรอบ ๆ ตัว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดปัญหาในขณะกำลังแสดงอยู่ การได้ยิน เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง หู ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการฟัง เพราะอาจต้องใช้ในการแสดงบางประเทที่มีการบอกบทในขณะแสดง ระบบการได้ยินจึงต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการแสดงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การได้กลิ่น เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง จมูก ผู้แสดงจะต้องมีความไวต่อการได้กลิ่น และสามารถบอกได้ว่าเป็นกลิ่นอะไรแสดงสีหน้าท่าทางอย่างไรเมื่อได้กลิ่นนั้น ๆ การได้ลิ้มรส เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ลิ้น ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการชิมรส ต้องรับรู้รสต่าง ๆ ได้แม่นยำและสามารถแสดงสีหน้าท่าทางเมื่อได้รับรู้รสนั้น ๆ การได้สัมผัส เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง มือ หรือ ผิวหนังส่วนอื่น ผู้แสดงจะต้องมีความรู้สึกไวต่อสิ่งของที่ได้สัมผัสแต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น ผิวหยาบ ผิวนุ่ม ผิวแข็ง และเมื่อได้สัมผัสสิ่งนั้น ๆ มีท่าทางความรู้สึกอย่างไร การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่เสมอ จะทำให้ผู้แสดงมีความรู้และการรับรู้ฉับไวในการแสดงแต่ละอย่าง และสามารถสร้างสรรค์งานละครได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กิจกรรมที่นำมาฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีหลายกิจกรรม เช่น 1. ฝึกการมอง ให้นักแสดงฝึกมองสิ่งต่าง ๆ โดยให้ดูลักษณะภายนอกที่มองเห็นว่าเป็นสิ่งใด แล้วฝึกการแสดงออกโดยใช้สายตา เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจ เช่น เห็นสัตว์ดุร้าย ทำตาโตแบบตกใจเห็นแสงสว่างมาก หรี่ตาและใช้มือบังตา เป็นต้น 2. ฝึกการฟังเสียง ให้นักแสดงทายเสียงดนตรี หรือเสียงสัตว์ต่าง ๆ โดยไม่ให้เห็นที่มาของเสียง จากนั้นจึงแสดงท่าทางประกอบ โดยให้สอดคล้องกับเสียงที่ได้ยิน เช่น ได้ยินเสียงดังให้เอามือปิดหู ได้ยินเสียงกระซิบให้เอามือป้องหู เป็นต้น 3. ฝึกการดมกลิ่น ให้นักแสดงหลับตาและดมกลิ่น แล้วทายว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เช่น ดอกไม้ ผลไม้ ผัก เป็นต้น จากนั้นฝึกแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับกลิ่นที่ได้สัมผัส เช่น ได้ดมกลิ่นเหม็นให้เอามือปิดจมูก ได้ดมกลิ่นหอมให้ทำท่าสูดกลิ่นอย่างแรง เป็นต้น 4. ฝึกการชิมรส ให้นักแสดงหลับตาทายอาหารที่ชิมหลาย ๆ ชนิดว่าเป็นอาหารประเภทไหน ชื่ออะไร เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น จากนั้นจึงฝึกแสดงท่าทางประกอบให้สัมพันธ์กับการรับรู้รสนั้น ๆ เช่น ได้รับรู้รสเผ็ดให้แสดงอาการซู้ดปาก และเอามือพัดปากได้รับรู้รสขมให้ทำหน้าตาบูดเบี้ยว เป็นต้น 5. ฝึกการสัมผัส ให้นักแสดงหลับตาแล้วคลำสิ่งของต่าง ๆ โดยใช้การสัมผัส เช่น ใช้มือคลำสิ่งของต่าง ๆ แล้วทายว่าเป็นอะไร จากนั้นฝึกแสดงท่าทางประกอบ โดยให้สอดคล้องกับสิ่งที่ได้สัมผัส เช่น ได้สัมผัสกับขนปุยของลูกสุนัขให้แสดงท่าทางเอามือลูบไล้เบา ๆ ได้สัมผัสหนามแหลมคมให้กระตุกมือขึ้น เป็นต้น
จังหวะกับการเคลื่อนไหว
การฝึกเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับจังหวะถือว่าเป็นพื้นฐานการแสดงอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการฝึกการใช้อวัยวะทุกส่วนให้เคลื่อนไหวอย่างคล่องแคคล่วและสอดคล้องกับจังหวะที่ได้ยิน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การแสดงต่าง ๆ ที่พร้อมจะเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งต่าง ๆ ที่มากระตุ้น เช่น เสียงรถไฟ เสียงดนตรี เป็นต้น เพื่อให้ได้ลีลาสวยงามและมีศิลปะ การเคลื่อนไหวตามจังหวะอาจฝึกได้จากการเดิน การวิ่ง การกระโดด เป็นต้น โดยให้สอดคล้องกับจังหวะที่ได้ยิน การแสดงละครใบ้ การแสดงละครใบ้ คือ การแสดงโดยไม่ใช้คำพูด แต่จะใช้ท่าทางคำพูด ซึ่งผู้แสดงจะต้องแสดงกิริยาท่าทางให้ผู้ชมเข้าใจความหมายให้ได้ การกระทำกิริยาท่าทางในการแสดงละครใบ้ ผู้แสดงต้องแสดงให้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อสามารถสื่อให้ผู้ชมทายได้ว่า กำลังอะไรหรือเป็นอะไร เช่น แต่งหน้า ทานข้าว หรือแสดงเป็นตำรวจ คนตาบอด เป็นต้น
แหล่งที่มา: อกรินทร์ สีมหาศาล และคณะ. ศิลปะ ป.3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2755
http://www.google.co.th/imgres?
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/71857
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น