บันทึกครั้งที่ 1
วันพฤหัสบดี ที่ 1 พ.ย. 2555
วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดภาคเรียนที่ 2 แห่งปีการศึกษา 2555 และเป็นวันแรกในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204 กลุ่ม 103 เวลา 08:30 - 12:20 น. ก่อนจะเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ก็ได้ชี้แจง ถึงการปฏิบัติตนในห้องเรียนหรือการมาเรียน เช่น ต้องแต่งกายให้ถูกระเบียบ เป็นต้น แล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษาลงชื่อเข้าเรียนสำหรับวันนี้
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้ความหมายของคำว่า "ทักษะ" ว่ามีความหมายอย่างไร และได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นออกมา นอกจากนี้อาจารย์ก็ให้กระดาษคนละหนึ่งแผ่น ให้นักศึกษาเขียนว่า - คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความเข้าใจของนักศึกษาเป็นอย่างไร โดยให้เขียนมา สองประโยคตามความเข้าใจของนักศึกษาเอง และห้ามลอกเพื่อน
- นักศึกษาคิดว่าจะได้เรียนรู้ในเรื่องอะไรบ้าง จากรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ต่อจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายในเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้แผนผังความคิด ซึ่งได้อภิปรายร่วมกันกับนักศึกษาด้วย เ่ช่น การรับรู้ กับ การเรียนรู้ สองคำนี้มีความหมายอย่างไร มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เป็นต้น
** วุฒิภาวะ = พัฒนาการ+ประสบการณ์** ทักษะ คือ การฝึกฝน การทำสิ่งนั้นบ่อยๆ เป็นประจำ สม่ำเสมอ หรือมีความต่อเนื่องกัน จนเกิดเป็นความชำนาญ
** พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นและมีความต่อเนื่องกัน
**การรับรู้ คือ การได้รับประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
**การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
**การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
**การรับรู้และการเรียนรู้ ทั้งสองคำนี้มีความสัมพันธ์กัน ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
**ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่ว่า ทำไมต้องมีการเรียนรู้?
**ให้แสดงความคิดเห็นของคำว่า การรับรู้และการเรียนรู้
ค้นคว้าเพิ่มเติม
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
- การจำแนกประเภท
- การจัดหมวดหมู่
- การเรียงลำดับ
- การเปรียบเทียบ
- รูปร่างรูปทรง
- พื้นที่
- การชั่งตวงวัด
- การนับ
- การรู้จักตัวเลข
- รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
- เวลา
- การเพิ่มและลดจำนวน
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น