วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ี่ 6

วันพฤหัสบดี ที่่ 6 ธันวาคม 2555


                วันนี้เรียน ก็เจอคำถามแบบเวียนหัวอีกแล้ว  เมื่อครูถามว่า การเล่น กับ การจัดประสบการณ์ต่างกันอย่างไร ซึ่งถามว่าตอบได้ไหม พอตอบได้นะ แบบงง ๆ น่ะ แต่ก็ามารถเข้าใจได้เพราะครูอธิบายให้ฟัง จนระเอียดยิบเลย จากนั้นก็ได้ศึกษาเรื่องการใช้เกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม หรือการจัดกลุ่ม ซึ่งเกณฑ์ที่จะใช้ต้องมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หมายถึงถ้านำไปใช้กับเด็กๆนะ ถ้าผู้ใหญ่ก็ซับซ้อนได้ คือเราต้องดูความเหมาะสมด้วย 
                 และท้ายชั่วโมงครูก็ได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาไปทำกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 6 คน แล้วก็ให้นำกล่องมาคนละกล่อง แล้วก็จับกลุ่มๆ สืบคน เพื่อให้นำกล่องที่เตรียมมา มาแปะติดต่อกัน เป็นรูปอะไรก็ได้ตามความคิดของนักศึกษาแต่ละคน















บันทึกครั้งที่ 5

วัน พฤหัสบดี ที่ 29 พฤศจิกายน 2555


              วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับความหมายของคำว่ามาตรฐานว่าหมายถึงอะไร ซึ่งฉันก็สามารถตอบได้ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง แต่ก็ใกล้เคียง ซึ่งฉันก็ดีใจมากที่สามารถตอบคำถามที่ครูถามได้ เพราะอย่างน้อยๆสมองของฉันก็ได้คิดวิเคราะห์ออกมาบ้าง นั่นก็แสดงว่าสมองยังใช้งานได้อยู่ ต่อจากนั้นครูก็ให้จับคู่นำเสนองานกลุ่มต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่ครูได้มอบหมายไว้ โดยให้แต่ละคู่ออกมานำเสนอหน้าห้องให้เพื่อนๆฟัง แล้วร่วมกันคิดวิคราะห์ในหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอว่าเป็นอย่างไร ควรปรับปรุง หรือเพิ่มเติมส่วนไหนเข้าไป เป็นต้น ซึ่งฉันกับเพื่อนก็ออกไปยืนกรานอยู่หน้าห้องกันสองคน รู้สึกอ้างว้างมากทั้งที่มีคนเยอะแยะ อันดับแรกเราก็แนะนำตัวพอแนะนำตัวเสร็จ เพื่อนฉันก็เป็นคนพูดขึ้น จนจบ ส่วนฉันมีบทบาทคือ ยืนให้กำลังใจอยู่ข้างๆ จนนำเสนอจบ 
              และสุดท้ายก็อยากจะบอกว่า การเรียนในวันนี้ฉันมีความสุข สนุก มากๆ ได้ทั้งสาระความรู้ ความบันเทิง อิ่ม อร่อย ครบถ้วน อย่าบอกใคร ขอบคุณค่ะ ไว้เจอกันใหม่สัปดาห์หน้านะ


ความรู้เพิ่มเติม

ความหมาย และความสำคัญของมาตรฐาน ISO 9000


ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization หรือ International Standard Organization ซึ่งเป็นองค์การสากล ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนด หรือปรับมาตรฐานนานาชาติของเกือบทุกประเทศ (ยกเว้นทางด้านไฟฟ้า ซี่งเป็นหน้าที่ของ IEC)
                 เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในโลกสามารถใช้มาตรฐานเดียวกันเนื่องจากแต่ละประเทศมีมาตรฐานคุณภาพของตนเอง
                                 
                 ปัจจุบันองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน หรือ ISO มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประกอบด้วย
                สมาชิกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกปัจจุบัน 137 ประเทศโดยมีภารกิจหลักๆ ดังนี้
                1. ให้การสนับสนุนพัฒนามาตรฐาน และภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองต่อการขาย การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการ
                ของนานาชาติทั่วโลก
                2. พัฒนาความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และภูมิปัญญาของมวลมนุษยชาติ
                 
                                ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 เป็นระบบการบริหารงานเพื่อให้เกิดคุณภาพ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการ และการ
                ประกันคุณภาพโดยเน้นความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ และตั้งอยู่บนความคิดพื้นฐานที่ว่าเมื่อกระบวนการดี ผลที่ได้ออกมาก็จะ
                ดีตามไปด้วย พนักงานจะต้องได้รับการอบรมเพื่อให้เกิดทักษะ และมีความรับผิดชอบที่จะปฏิบัติงานให้ถูกต้องเป็นระบบทุกขั้นตอน
                ตามเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยืดหยุ่นได้ สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานได้ในทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น
                ด้านอุตสาหกรรม การผลิตและการบริการทุกขนาด เป็นระบบการบริหารงานที่นำไปใช้กันมากที่สุดในโลก
                 
                                ลักษณะสำคัญของ มาตรฐาน ISO 9000
                                1. เป็นมาตรฐาน เกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจด้วยการยึดหลักของคุณภาพ
                                2. เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่สามารถนำไปใช้กับกิจกรรมทุกประเภท
                                3. เป็นมาตรฐานที่นานาชาติยอมรับ และใช้เป็นมาตรฐานของประเทศ
                                4. เป็นระบบการบริหารคุณภาพที่เกี่ยวกับทุกแผนกงาน และทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม
                                5. เป็นการบริหารคุณภาพจากขั้นตอนในกระบวนการนั้น ๆ
                                6. เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญในเรื่องของเอกสารการปฏิบัติงาน โดยนำสิ่งที่มีการปฏิบัติอยู่มาทำเป็นเอกสาร แล้วจัดเป็น
                หมวดหมู่มีระบบทำให้นำไปใช้งานได้สะดวกและเกิดประสิทธิภาพ
                                7. เป็นระบบงานที่เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการทำงานได้
                ตลอดเวลา
                                8. เป็นมาตรฐานขององค์กรทั้งหมด
                                9. เป็นมาตรฐานคุณภาพที่ประเทศไทยรับรองเป็นมาตรฐานคุณภาพ มอก. 9000


แหล่งที่มา:http://202.143.168.214/uttvc/wbi2553/meaniso9000.html



                                              มาตรฐานวิชาชีพครู


ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่น
ศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสําคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกําหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม นั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กําหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชํานาญเฉพาะด้านและความชํานาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กําหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ เพียงพอที่จะดํารงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดํารงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกําหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทําให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ยกข้อกล่าวหา
(2) ตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกําหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
(5) เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ดําเนินการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสํารวจความคิดเห็น จัดประชุมสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งด้านการผลิต การพัฒนา และการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนํามากําหนดเป็นสาระสําคัญของมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุรุสภาในคราวประชุมครั้งที่ 5/2548 วันที่ 21 มีนาคม 2548 และที่ประชุม คณะกรรมการคุรุสภาครั้งที่ 6/2548 วันที่ 18 เมษายน 2548 ได้อนุมัติให้ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะต้องประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ อันถือเป็นเป้าหมายหลักของการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้สามารถนําไปใช้ในการประกอบวิชาชีพให้สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงและได้รับการยอมรับยกย่องจากสังคม
แหล่งอ้างอิง : http://onumpai.multiply.com/journal/item/3

เกณฑ์มาตรฐาน- วิชาชีพครู ตามกระทรวงศึกษาธิการ.


มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
คำอธิบายมาตรฐานที่ 1
การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และ การเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงาน หรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม การอบรม การสัมมนา และการประชุมปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีผลงานหรือรายงานที่ปรากฏชัดเจน
คำอธิบายมาตรฐานที่ 2
การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน หมายถึง การ-เลือกอย่างชาญฉลาดด้วยความรักและหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้น ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่น ๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
คำอธิบายมาตรฐานที่ 3
การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของครูที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหาความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิม รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
คำอธิบายมาตรฐานที่ 4
การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง หมายถึง การเลือกใช้ ปรับปรุง หรือสร้างแผนการสอน บันทึกการสอน หรือ เตรียมการสอนในลักษณะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
คำอธิบายมาตรฐานที่ 5
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ หมายถึง การประดิษฐ์คิดค้น ผลิต เลือกใช้ ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ จุดประสงค์ของการเรียนรู้
คำอธิบายมาตรฐานที่ 6
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวร หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามสภาพความแตกต่างของบุคคล ด้วยการปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
คำอธิบายมาตรฐานที่ 7
การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ หมายถึง การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาเหตุ ปัจจัย และ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้
1. ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการได้รับการพัฒนาและเป้าหมายของ
การพัฒนาผู้เรียน
2. เทคนิค วิธีการ หรือ นวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ
ของผู้เรียน และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้น ๆ
3. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนดที่เกิดกับผู้เรียน
4. ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
คำอธิบายมาตรฐานที่ 8
การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การแสดงออก การประพฤติและปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย กิริยา วาจา และจริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธาและถือเป็นแบบอย่าง
คำอธิบายมาตรฐานที่ 9
การร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความ-สำคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา และ ร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
คำอธิบายมาตรฐานที่ 10
การร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน หมายถึง การตระหนักในความสำคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน และร่วมมือปฏิบัติ-งานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ
คำอธิบายมาตรฐานที่ 11
การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน โดยเฉพาะ สารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
คำอธิบายมาตรฐานที่ 12
การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หมายถึง การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการนำปัญหาหรือความจำเป็นในการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการเรียน และ การจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงเรียน มา กำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบหนึ่ง ที่จะนำเอาวิกฤติต่าง ๆ มาเป็นโอกาสในการพัฒนา ครูจำเป็นต้องมองมุมต่าง ๆ ของปัญหา แล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา กำหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนาของผู้เรียน ครูจึงต้องเป็นผู้มองมุมบวกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ กล้าที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มีสติในการแก้ปัญหา มิได้ตอบสนองปัญหาต่าง ๆ ด้วยอารมณ์หรือแง่มุมแบบตรงตัว ครูสามารถมองหักมุมในทุก ๆ โอกาส มองเห็นแนวทางที่นำสู่ผลก้าวหน้าของผู้เรียน
กระทรวงศึกษาธิการ : ประกาศ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 สำนักเลขาธิการคุรุสภา
แหล่งอ้างอิง : http://www.kroobannok.com/21343

http://www.kruchiangrai.net/2012/07/29