วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

เรื่่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ปริญญานิพนธ์
ของ
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2550


บทนำ

             ทรัพยากรมนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ประเทศใดที่คนในชาติ
มีความรู้ ประเทศนั้นย่อม มีความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนา
คนในชาติของตน โดยการให้ความสำคัญต่อการให้การศึกษา แก่คนในชาติเพราะการศึกษาคือการ
พัฒนาให้คนมีความรู้ที่สามารถสร้างตนให้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงขึ้น สร้างชาติให้อยู่อย่าง
มีความสุขและรุ่งเรืองได้ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2542:86)

               ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัยการพัฒนาเด็กต้องครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา คณิตศาสตร์นับเป็น
ความสามารถทางสติปัญญา และเป็นทักษะด้านหนึ่งที่ควรส่งเสริมและจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน ถ้ามองไปรอบๆ ตัวจะ
เห็นว่าชีวิตเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มากมาย เริ่มตั้งแต่เลขที่บ้าน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนรถ
ปฏิทิน นาฬิกา เวลา การซื้อขาย การคมนาคม และการติดต่อสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับ
คณิตศาสตร์ด้วยทั้งสิ้น (นิตยา ประพฤติกิจ. 2537:241)



ความมุ่งหมายของการวิจัย

            เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัย

             การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของ
ศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่ง
ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัด
ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความ
หลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น


ขอบเขตการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

             ประชากรวิจัย

              ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่ง
กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ
กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน

               กลุ่มตัวอย่างการวิจัย

                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาล
ละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา
1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น
กลุ่มทดลอง


วิธีดำเนินการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดั้งต่อไปนี้
1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86


การเก็บรวบรวมข้อมูล


 การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2
ครั้งคือ
4.1 ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)
ก่อนการทดลอง
4.2 ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ใช้เวลา
ทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
(Posttesrt) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัย


สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการ
จำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน
1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ย
สูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01






วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 16

พฤหัสบดี ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556


              วันนี้อาจารย์ให้ไปร่วมทำกิจกรรมที่ลานแดง เนื่องจากมีงานการรณรงค์การใช้ขวดน้ำส่วนตัว และร่วมฟังบรรยายจากท่านวิทยากร ภายในงานก็มีศิลปินมาร่วม คือ จอยAF และ แจสมิน จาก RS ซึ่งทั้งสองสาวก็กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเรานี่เองค่ะ นอกจากนี้ดิฉันก็ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิ เลี้ยงลูกบอลลงตะกร้า  โยนห่วง ตีกอล์ฟ และโยนลูกปิงปองลงกระป๋อง ซึ่งฉันและเพื่อนก็เล่นทุกอย่าง เพื่อแลกของรางวัลที่อยากได้คือ ขวดน้ำใช้ส่วนตัวนั่นเอง และในที่สุดก็ทำได้จริงๆ  โดยได้จากการเล่นเกมเลี้ยงลูกบอลลงตะกร้า กติกาคือ ต้องทำให้ลูกบอลลงตะกร้าสามลูกแล้วจะได้ขวดน้ำ แต่ถ้าทำได้เพียงแค่สองลูกก็จะได้รับสมุดโน้ต ที่ใช้คั่นหน้าหนังสือ เป็นต้น

                หลังจากที่กิจกรรมเสร็จลงอาจารย์ก็ให้เข้าเรียนตามปกติ  เมื่อหมดเวลาเรียนพวกเราก็เดินทางกลับบ้าน อย่างมีความสุข :))

- อาจารย์ให้ดูหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับตารางกิจกรรมสำหรับเด็ก
















ความรู้เพิ่มเติม


       มารู้จักวันวันวาเลนไทน์

      หรือวันแห่งความรักกันเถอะ





วันนักบุญวาเลนไทน์ (อังกฤษSaint Valentine's Day) หรือที่มักเรียกว่า วันวาเลนไทน์ (อังกฤษValentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวาเลนไทน์มีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นประเทศทางตะวันตก แม้จะยังเป็นวันทำงานในทุกประเทศเหล่านั้นก็ตาม
"วันนักบุญวาเลนไทน์" แต่เดิมเป็นเพียงวันฉลองนักบุญในศาสนาคริสต์ยุคแรกที่ชื่อ วาเลนตินุส (แต่นักบุญชื่อนี้มีหลายองค์) ความหมายโรแมนติกโดยนัยสมัยใหม่ล้วนถูกกวีเพิ่มเติมในอีกหลายศตวรรษต่อมาทั้งสิ้น วันวาเลนไทน์ถูกำหนดขึ้นครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซิอุสที่ 1 ใน ค.ศ. 496 ก่อนจะถูกลบออกจากปฏิทินนักบุญทั่วไปของโรมัน (General Roman Calendar of saints) ในปี ค.ศ. 1969 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6
วันวาเลนไทน์มาข้องเกี่ยวกับรักแบบโรแมนติกเป็นครั้งแรกในแวดวงสังคมของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ ช่วงกลางสมัยกลาง (High Middle Ages) เมื่อประเพณีรักเทิดทูน (courtly love) เฟื่องฟู จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 วันวาเลนไทน์ได้วิวัฒนามาเป็นโอกาสซึ่งคู่รักจะแสดงความรักของพวกเขาแก่กันโดยให้ดอกไม้ ขนมหรือลูกกวาด และส่งการ์ดอวยพรกัน[1][2]



นักบุญวาเลนไทน์

[แก้]ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

มรณสักขีในศาสนาคริสต์ยุคแรกหลายคนมีชื่อว่า วาเลนไทน์ ซึ่งวาเลนไทน์ที่มีการฉลองในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คือ วาเลนไทน์แห่งโรม (Valentinus presb. m. Romae) และวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี (Valentinus ep. Interamnensis m. Romae)[3] วาเลนไทน์แห่งโรมเป็นนักบวชในโรมผู้พลีชีพเพื่อศาสนาราว ค.ศ. 269 และถูกฝังที่เวียฟลามีเนีย (Via Flaminia) กะโหลกที่สวมมาลัยดอกไม้ของนักบุญวาเลนไน์ถูกจัดแสดงในมหาวิหารซานตามาเรียในคอสเมดิน โรม เรลิกอื่นพบได้ในมหาวิหารซานตาพราสเซเด (Santa Prassede)[4] ในโรมเช่นกัน เช่นเดียวกับที่โบสถ์คาร์เมไลท์ถนนไวท์ไฟร์อาร์ (Whitefriar Street Carmelite Church) ในดับลินไอร์แลนด์
วาเลนไทน์แห่งเทอร์นีกลายมาเป็นบิชอปแห่งอินเตรัมนา (Interamna, ปัจจุบัน คือ เทอร์นี) ราว ค.ศ. 197 และกล่าวกันว่าท่านได้พลีชีพในช่วงการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในรัชสมัยจักรพรรดิออเรเลียน ท่านถูกฝังที่เวียฟลามีเดียเช่นกัน แต่คนละตำแหน่งกับที่ฝังวาเลนไทน์แห่งโรม เรลิกของท่านอยู่ที่มหาวิหารนักบญวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี[5]
สารานุกรมคาทอลิกยังกล่าวถึงนักบุญคนที่สามที่ชื่อวาเลนไทน์ ผู้ซึ่งมีการกล่าวขานถึงในบัญชีมรณสักขียุคต้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ท่านพลีชีพเพื่อศาสนาในแอฟริการ่วมกับเพื่อนเดินทางจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับท่านอีก[6]
ไม่มีส่วนใดที่โรแมนติกปรากฏในชีวประวัติยุคกลางตอนต้นแต่เดิมของมรณสักขีทั้งสามท่านนี้ ก่อนที่นักบุญวาเลนไทน์จะมาเชื่อมโยงกับเรื่องรักใคร่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 นี้ ระหว่างวาเลนไทน์แห่งโรมกับวาเลนไทน์แห่งเทอร์นีนั้นไม่มีความข้องเกี่ยวกันเลย
ศีรษะของนักบุญวาเลนไทน์ถูกเก็บรักษาไว้ในแอบบีย์นิวมินสเตอร์ วินเชสเตอร์ และเป็นที่เคารพบูชา แต่ไม่มีหลักฐานว่านักบุญวาเลนไทน์จะเป็นนักบุญที่ได้รับความนิยมก่อนบทกวีของเชาเซอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 แม้แต่ในพื้นที่วินเชสเตอร์[7] การเฉลิมฉลองนักบุญวาเลนไทน์มิได้แตกต่างไปจากการเฉลิมฉลองนักบุญคนอื่นมาก และไม่มีโบสถ์ใดอุทิศถึงท่าน[7]
ในการตรวจชำระปฏิทินนักบุญโรมันคาทอลิก วันฉลองนักบุญวาเลนไทน์ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถูกตัดออกจากปฏิทินโรมันทั่วไปและลดขั้นไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ (particular calendar, ท้องถิ่นหรือประจำชาติ) ด้วยเหตุผล "แม้ความทรงจำเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์จะเก่าแก่ แต่ชื่อของท่านก็ถูกลดไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ เพราะนอกเหนือไปจากชื่อของท่านแล้ว ไม่มีข้อมูลอื่นใดทราบกันเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์ เว้นแต่ว่า ท่านถูกฝังที่เวียฟลามิเนียเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์"[8] วันฉลองนี้ยังมีการเฉลิมฉลองอยู่ในบัลซาน (มอลตา) ที่ซึ่งมีการอ้างว่าพบเรลิกของนักบุญวาเลนไทน์ที่นั่น และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยผู้นับถือนิกายคาทอลิกดั้งเดิมที่ถือตามปฏิทินที่เก่ากว่าก่อนหน้าของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่สองนี้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ยังมีการเฉลิมฉลองเป็นวันวาเลนไทน์ในนิกายอื่นของศาสนาคริสต์ ตัวอย่างเช่น วันวาเลนไทน์มีระดับระดับ "พิธีฉลอง" (commemoration) ในปฏิทินของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และส่วนอื่นของแองกลิคันคอมมิวเนียน[9]


ตำนาน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 หรือที่ 6 ผลงานชื่อ Passio Marii et Marthae ได้กุเรื่องราวการพลีชีพเพื่อศาสนาแก่นักบุญวาเลนไทน์แห่งโรม ซึ่งปรากฏว่ามิได้มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ใด ๆ เลย[10] ผลงานนี้อ้างว่า นักบุญวาเลนไทน์ถูกเบียดเบียนเพราะนับถือศาสนาคริสต์ และถูกสอบสวนโดยจักรพรรดิคลอเดียส กอธิคัสเป็นการส่วนตัว วาเลนไทน์ทำให้จักรพรรดิคลอเดียสประทับใจและได้สนทนากับท่าน โดยพยายามให้เขาเปลี่ยนไปนับถือลัทธิเพเกินโรมันเพื่อรักษาชีวิตของท่าน วาเลนไทน์ปฏิเสธและพยายามโน้มน้าวให้จักรพรรดิคลอเดียสหันมานับถือศาสนาคริสต์แทน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงถูกประหารชวิต ก่อนที่ท่านจะถูกประหารชีวิตนั้น มีรายงานวาท่านได้แสดงปาฏิหาริย์โดยรักษาลูกสาวตาบอดของผู้คุมของเขา แอสเตอเรียส (Asterius) Passio สมัยหลังย้ำตำนานนี้ โดยเสริมเรื่องกุว่า สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 1 ได้ทรงสร้างโบสถ์ครอบสุสานของท่าน (เป็นความเข้าใจผิดกับผู้พิทักษ์ประชากร [tribune] ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชื่อ วาเลนติโน ซึ่งบริจาคที่ดินเพื่อสร้างโบสถ์ในขณะที่จูเลียสเป็นพระสันตะปาปา)[10] ตำนานได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นข้อเท็จจริงโดยบันทึกมรณสักขีในภายหลัง เริ่มจากบันทึกมรณสักขีของบีดในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และมีย้ำในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ใน Legenda Aurea[11] หนังสือนี้อธิบายคร่าว ๆ ถึงกิจการของนักบุญ (Acta Sanctorum) ยุคกลางตอนต้นของนักบุญวาเลนไทน์หลายคน และตำนานนี้ถูกจัดเข้ากับวาเลนไทน์ใต้วันที่ 14 กุมภาพันธ์

ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C